Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)
 
 

จีน: คลื่นลงทุนลูกใหม่ของศตวรรษที่ 21

    

ด้วยเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 3 ของโลกในปัจจุบัน และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมหาศาล จีนได้ขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศจนทำให้จีนกลายเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีการลงทุนในข้ามชาติมากที่สุดในปัจจุบัน ปัจจุบัน จีนมีกลุ่มธุรกิจข้ามชาติราว 10,000 กิจการ จนถึงสิ้นปี 2549 การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (Outward FDI) ของจีนมีมูลค่าการลงทุนสะสมถึงกว่า 70 พันล้านดอลลาร์ ในธุรกิจต่าง ๆ กว่า 8,000 แห่งใน 150 ประเทศ ในช่วงปี 2546-2549 กลุ่มธุรกิจข้ามชาติขนาดใหญ่ 200 แห่งของจีนได้เข้าไปลงทุนใน 71 ประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม IT โทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์และเคมีภัณฑ์ นำโดย ZTE ซึ่งไปลงทุนในต่างประเทศมากที่สุดถึง 31 โครงการ ตามด้วย Huawei, Lenovo, CNPC และ Sinopec สำหรับในประเทศไทย ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จาก 2,773 ล้านบาทในปี 2548 เป็น 12,306 ล้านบาท และ 17,175 ล้านบาทในปี 2549 และ 2550 ตามลำดับ

ในช่วงปี 2522-2547 ประมาณร้อยละ 70 ของการลงทุนข้ามชาติทั้งหมดของจีนมุ่งไปยังฮ่องกง อาเซียน 5 (ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์) สหรัฐฯ ออสเตรเลีย รัสเซียและแคนาดา ตามลำดับ ทั้งนี้ จีนเน้นไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านมากที่สุด โดยฮ่องกง เกาหลีใต้และอาเซียนรวมกันคิดเป็นครึ่งหนึ่งของการลงทุนในต่างประเทศทั้งหมดของจีน กว่าครึ่งหนึ่งของธุรกิจข้ามชาติจีนเป็นธุรกิจพลังงาน ที่เหลือประกอบด้วยธุรกิจธนาคาร โทรคมนาคม เหมืองแร่ บริการสาธารณูปโภค ขนส่ง เคมีภัณฑ์และสินค้าเทคโนโลยี ตามลำดับ

ปัจจุบัน มีกลุ่มธุรกิจของจีนกว่า 200 กิจการที่เข้ามาประกอบธุรกิจในไทย รูปแบบการลงทุนของจีนในไทยมีลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น การลงทุนด้านยุทธศาสตร์เพื่อขยายตลาดและสร้างการยอมรับแบรนด์สินค้า (เช่น การลงทุนของ Haier และ TCL เพื่อผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับจำหน่ายในไทย) การแก้ปัญหาการกีดกันทางการค้าโดยผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคในไทยเพื่อส่งออกไปยังประเทศที่สาม (เช่น การผลิตสิ่งทอในไทยของ World Best Holding ด้วยมูลค่าการลงทุนนับพันล้านบาท) การลงทุนในธุรกิจไทยที่มีโอกาสได้กำไรสูง (เช่น การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ในโครงการ All Seasons ของกลุ่ม China Resources) การลงทุนในโครงการก่อสร้างและกิจการสาธารณูปโภคในไทยและประเทศ CLMV (เช่น กลุ่ม China Railway) เป็นต้น อย่างไรก็ตามการลงทุนจำนวนมากของจีนไม่ได้เป็นการลงทุนที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ทำให้ตัวเลขการลงทุนอย่างเป็นทางการที่ผ่าน BOI เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการลงทุนทั้งหมดของจีนในไทย  

เมื่อพิจารณาตัวเลขการลงทุนที่ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนผ่าน BOI มูลค่าการลงทุนของจีนในไทยคิดเป็นสัดส่วนไม่มากนักเมื่อเทียบกับการลงทุนทั้งหมดของไทย ในปี 2550 ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนของจีนมีมูลค่า 17,175 ล้านบาท จาก 26 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 3.4 ของมูลค่าโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด (จำนวน 502,432 ล้านบาท) อย่างไรก็ตาม แม้จำนวนโดยรวมอาจไม่มาก แต่ก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนหลังจากปี 2548 เป็นต้นมา โดยมูลค่าการขอรับส่งเสริมการลงทุนเพิ่มจาก 2,773 ล้านบาทในปี 2005 เป็น 12,306 ล้านบาท และ 17,175 ล้านบาทในปี 2549 และ 2550 ตามลำดับ

ความสนใจของนักลงทุนจีนในไทยมักเน้นหนักไปในอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรเป็นหลัก โดยอุตสาหกรรมทั้ง 2 กลุ่มรวมกันคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของโครงการลงทุนที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปี 2545-2549 ที่สำคัญรองลงมาได้แก่อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และกระดาษ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เหมืองแร่ เซรามิกส์ และภาคบริการ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา การลงทุนของจีนจะมีลักษณะกระจายตัวไปยังอุตสาหกรรมที่หลากหลายมากขึ้น

ในอนาคต คาดว่า การลงทุนของจีนในไทยจะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการผลักดันของทางการจีนให้ผู้ประกอบการของตนไปลงทุนยังต่างประเทศ เพื่อลดแรงกดดันจากเงินสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ เสถียรภาพทางการเมืองและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยภายหลังการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม 2550 คาดว่าจะส่งผลให้กระแสการลงทุนของจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกมาก ทั้งนี้ ภาครัฐและเอกชนของไทยจำเป็นต้องแสดงให้จีนเห็นถึงนโยบายที่ชัดเจนที่ส่งเสริมการลงทุนของจีนในไทย และจัดคณะผู้แทนระดับสูงไปเยือนจีนยังพื้นที่เป้าหมายซึ่งมีธุรกิจจำนวนมากของจีนตั้งอยู่ เช่น เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง กวางเจา เซียะเหมิน เทียนจิน ฉงชิ่ง เฉิงตู ต้าเหลียน เป็นต้น เพื่อสร้างกระแสความสนใจประเทศไทยให้มากขึ้น


 

    

  ย้อนกลับ:::

 

 

 

 

 

ที่มา : กระแสทรรศน์ฉบับที่ ฉบับที่2032

           วันที่ 31 มกราคม  2551

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 08-Feb-2008.