Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)
 
 

จับตาเกาหลีใต้ใช้ประโยชน์จาก FTA : ขยายการลงทุนในอาเซียน-ไทย

    

การจัดทำความตกลง FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ คาดว่าจะช่วยให้สินค้าส่งออกของอาเซียนรวมทั้งไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาที่ดีขึ้นในเกาหลีใต้    โดยเฉพาะการแข่งขันกับสินค้าราคาถูกจากจีนที่แย่งส่วนแบ่งตลาดของอาเซียนในเกาหลีใต้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2545-2549) และคาดว่าจะส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดสินค้าของอาเซียนในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น เนื่องจากภายใต้ความตกลง FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ต้องยกเลิกภาษีศุลกากรสินค้าในสัดส่วนร้อยละ 90 ของรายการสินค้าทั้งหมดที่เกาหลีใต้นำเข้าจากอาเซียนภายในปี 2553  สำหรับประเทศไทย ผู้ประกอบการไทยควรเร่งเตรียมความพร้อมเพื่อใช้ประโยชน์จากความตกลง FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ ซึ่งขณะนี้การเจรจาเปิดตลาดสินค้าระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ได้ข้อยุติแล้ว คาดว่าจะเริ่มลดภาษีภายใต้ FTA ได้ภายในปี 2551 หลังจากที่อาเซียนอื่นๆ เริ่มใช้ประโยชน์จากการเปิดตลาดของเกาหลีใต้ภายใต้ FTA ไปก่อนแล้วในช่วงกลางปี 2550

             ด้านการลงทุนของเกาหลีใต้ในอาเซียน การลงทุนโดยตรงของเกาหลีใต้ในอาเซียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่

             1. สิทธิประโยชน์ด้านภาษีศุลกากรสำหรับการค้าภายในอาเซียนตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) ที่ทำให้เกาหลีใต้เล็งเห็นถึงผลดีของการเข้ามาลงทุนในอาเซียน และสามารถนำเข้าวัตถุดิบหรือส่วนประกอบจากอีกประเทศอาเซียนหนึ่งได้โดยเสียภาษีในอัตราที่ต่ำ (ไม่เกินร้อยละ 5) ภายใต้กรอบ AFTA

              2. การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้าและภาคบริการในกรอบความตกลง FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ ที่ส่งผลให้การนำเข้าวัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูปและสินค้าทุนจากเกาหลีใต้เข้าอาเซียนมีอัตราภาษีต่ำลงภายใต้การเปิดเสรีด้านสินค้าระหว่างอาเซียนกับเกาหลีใต้ นอกจากนี้ เกาหลีใต้สามารถเข้าไปจัดตั้งธุรกิจบริการในอาเซียนได้มากขึ้น เช่น บริการด้านการศึกษา สุขภาพ และท่องเที่ยว จากการลดกฎระเบียบ/เงื่อนไขของอาเซียนตามข้อตกลงเปิดเสรีภาคบริการระหว่างอาเซียนกับเกาหลีใต้

              สำหรับประเทศไทย แม้มูลค่า FDI ของเกาหลีใต้ในไทยที่ผ่านมายังไม่สูงนัก แต่การลงทุนโดยตรงของเกาหลีใต้ในไทยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2549-2550) ขยายตัวอย่างต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัด และประเภทโครงการลงทุนของเกาหลีใต้ที่ยื่นขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนในไทยมีความหลากหลายมากขึ้นทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ มูลค่า FDI ของเกาหลีใต้ในไทยที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากการดำเนินนโยบายเปิดเสรีในเชิงรุกของไทยในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการจัดทำความตกลง FTA ทวิภาคีของไทยกับหลายประเทศ ทำให้เกาหลีใต้เห็นถึงประโยชน์ของการเข้ามาลงทุนในไทยและส่งออกไปยังประเทศที่สามที่ไทยจัดทำความตกลง FTA ด้วยซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลง FTA ดังกล่าว สำหรับธุรกิจบริการไทยที่มีศักยภาพ เช่น ร้านอาหาร และโรงแรมมีโอกาสขยายการลงทุนไปเกาหลีใต้ จากการเปิดเสรีภาคบริการของความตกลง FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ ที่เกาหลีใต้เปิดให้นักลงทุนอาเซียนสามรถเข้าไปลงทุนถือหุ้นได้ทั้งหมด (สัดส่วนร้อยละ100) ในหลายสาขา ที่สำคัญ เช่น โรงแรม ภัตตาคาร ธุรกิจบันเทิง และบริการทำความสะอาด


 

 

 

 

 

 

        

  ย้อนกลับ:::

 

 

 

 

 

ที่มา : กระแสทรรศน์ฉบับที่ ฉบับที่2029

           วันที่ 12 มกราคม  2551

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 08-Feb-2008.