Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

เวียตนามเข้า WTO อย่างเป็นทางการแล้ว

 

 

          

         ต้องแสดงความดีใจกับประเทศเพื่อนบ้านของเรา คือ เวียตนาม ที่ในที่สุด ก็เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization) หรือ WTO ลำดับที่ 150 อย่างเป็นทางการได้สำเร็จเรียบร้อยไปแล้วเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา หลังใช้ความพยายามมานานหลายปี

         การเข้าเป็นสมาชิก WTO อย่างเป็นทางการนี้จะเป็นการเปิดประตูไปสู่ยุคใหม่ของการค้าและการลงทุนในเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งในเอเชีย ที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะ เวียดนาม จะต้องลดภาษีและเปิดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนใน ประเทศได้ง่ายยิ่งขึ้น ตามกฏของ WTO
 

       รัฐบาล เวียดนามเองนั้นมีความเชื่อมั่นมาก ว่าสมาชิกภาพ WTO จะเป็นการเปิดศักราชใหม่ด้านการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากเวียดนามได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุนเพิ่มมากขึ้น ตัวนายกรัฐมนตรีเหงียน ตัน ดุง ของเวียดนาม ได้ออกมาประมาณการณ์ การเติบโตของเศรษฐกิจประเทศในปี 2550 ไว้ว่า ด้วยอานิสงส์ของการเข้าเป็นสมาชิกดับเบิลยูทีโอ คาดว่าอัตราเติบโตในปีหน้าจะอยู่ที่ระดับ 8.5% และเชื่อมั่นว่าแม้จะเกิดความผันผวนขึ้นในเศรษฐกิจโลก แต่เศรษฐกิจของเวียดนามก็จะยังขยายตัวได้ไม่น้อยกว่า 8.2% ขณะการลงทุนของต่างชาตินั้น คาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอีกจากสัดส่วนประมาณ 60% ของจีดีพีในปี 2548

        การเข้าเป็นสมาชิกดับเบิลยูทีโออย่างสมบูรณ์แบบ ยังจะมีผลให้เวียดนามสามารถเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น แม้ว่าในขณะเดียวกันจะถูกบีบให้ต้องลดกำแพงภาษีสูงลง ตัวอย่างคาดการณ์ผลประโยชน์ที่จะได้สำหรับการส่งออกของเวียตนามมี อาทิ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมรองเท้าชี้ว่า การส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (อียู) และสหรัฐ มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกดับเบิลยูทีโอแล้วอย่างเป็นทางการ ขณะที่ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เวียตนามสนับสนุนแนวโน้มดังกล่าว โดยระบุว่า บริษัทผลิตรองเท้าเวียดนามจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด จากปีที่แล้ว 35% รวม 1.36 พันล้านดอลลาร์ในปี 2549 โดยในช่วง 10 เดือนแรก เป็นการส่งออกรองเท้าของผู้ผลิตท้องถิ่นในเวียดนามไปยังอียู เป็นมูลค่า 740.72 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นประมาณ 27.43% จากปีก่อน ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐเพิ่มขึ้นถึง 91.22% สร้างรายได้ให้กับประเทศ 115.62 ล้านดอลลาร์ และคาดว่าตลอดปี 2549 มูลค่าการส่งออกรองเท้าไปสหรัฐจะเพิ่มขึ้นเป็น 140 ล้านดอลลาร์

      นอกจากนี้ การเข้าเป็นสมาชิกดับเบิลยูทีโอยังจะส่งผลดีต่อการส่งออกโดยรวม ซึ่งปัจจุบันมีอัตราขยายตัวอยู่ที่ 22% หรือประมาณ 39.6 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ แต่อย่างไรก็ตาม เวียตนามยังคงขาดดุลการค้าอยู่ประมาณ 4.8 พันล้านดอลลาร์ โดยคาดว่าในระยะสั้นภาคอุตสาหกรรมที่จะได้อานิสงส์มากที่สุดจากการเข้าเป็นสมาชิกดับเบิลยูทีโอ คือ สิ่งทอและเสื้อผ้า แต่สำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ อาจจะต้องใช้เวลานานกว่า เพื่อรอปรับตัวให้สอดคล้องกับกติกาการค้าโลกเสียก่อน โดยอย่างน้อยๆ 1 ปี หลังจากเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกแล้ว รายได้จากการส่งออกโดยรวมจึงจะเพิ่มขึ้น

 

          ย้อนกลับ:::

 

 

 

 

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

          

ฉบับที่ 2183 14 ม.ค.-17 ม.ค. 2550

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.