Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

เสถียรภาพและกฎระเบียบ : ปัจจัยกำหนดทิศทางการลงทุนจากต่างประเทศ ปี 2550

 

      

       สถานการณ์ลอบวางระเบิดหลายจุดในกรุงเทพมหานคร ตลอดจนการดำเนินการของทางการในการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่มีความเกี่ยวข้องกับการลงทุน ได้สร้างความกังวลให้กับบริษัทต่างชาติในประเทศไทยถึงผลกระทบที่จะมีต่อการดำเนินธุรกิจ หลังจากก่อนหน้านี้ ทางการได้มีการดำเนินการในการปรับปรุงแก้ไขด้านกฎระเบียบที่มีความเกี่ยวข้องกับการลงทุน โดยมีเป้าหมายที่มุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อภาพรวมของเศรษฐกิจและธุรกิจ แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎระเบียบดังกล่าว ส่งผลกระทบทำให้สภาพแวดล้อมการลงทุนในประเทศไทยมีความเอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจของนักลงทุนต่างชาติลดน้อยลงไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อแนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศในปี 2550 จากเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในกรุงเทพมหานครและประเด็นด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน โดยสรุปดังนี้

         - สถานการณ์ลอบวางระเบิดพร้อมกันหลายจุดในกรุงเทพมหานคร ซึ่งคาดว่าอาจมีผลกระทบในช่วงสั้นๆภายในไตรมาสแรก ที่นักลงทุนอาจชะลอการตัดสินใจการลงทุนไว้ก่อน แต่หลังจากนั้นแล้ว ผลกระทบจะต่อเนื่องไปอีกยาวนานเพียงใดนั้นคงขึ้นอยู่กับผลสัมฤทธิ์ของการจัดการของภาครัฐต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ในการหยุดยั้งเหตุการณ์ความรุนแรงไม่ให้เกิดซ้ำขึ้นอีก

          - มาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น แม้มาตรการดังกล่าวจะสามารถสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาทได้ มีผลให้เงินบาทอ่อนค่าลง แต่มาตรการดังกล่าวจะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย โดยทำให้ต้นทุนการจัดหาแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศสูงขึ้นจากการที่ต้องกันสำรองเงินตราต่างประเทศร้อยละ 30 ส่งผลให้ธุรกิจขาดความยืดหยุ่นในการจัดหาเงินทุน ซึ่งจะสร้างความไม่คล่องตัวในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆที่ไม่มีมาตรการดังกล่าว

         - การปรับปรุงแก้ไขพรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่จะกลายสภาพเป็นบริษัทคนต่างด้าวตามนิยามใหม่ของ “คนต่างด้าว” ที่พิจารณาสิทธิในการออกเสียงประกอบด้วย จะต้องแก้ไขโครงสร้างให้ถูกต้องตามกฎหมายใหม่ภายในระยะเวลาที่ทางการกำหนด แต่กฎหมายนี้อาจไม่มีผลกระทบต่อบริษัทต่างชาติในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และธุรกิจบริการบางประเภทที่จะมีการนำออกจากบัญชี 3 แนบท้ายพรบ. ซึ่งจะทำให้บริษัทต่างชาติในธุรกิจนั้นๆสามารถดำเนินธุรกิจได้เช่นเดียวกับนิติบุคคลไทย

         - ผลต่อแนวโน้มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ แม้ไม่มีสถานการณ์ที่เป็นปัจจัยลบดังที่กล่าวข้างต้น การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในปี 2550 ก็คงมีทิศทางปรับตัวลดลงอยู่แล้ว เนื่องจากกระแสการเข้าซื้อและควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition: M&A) คงมีน้อยลงทั้งในแง่ปริมาณและขนาดมูลค่าของธุรกรรม การเลื่อนแผนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และปัจจัยทางการเมืองที่ยังต้องรอคอยความชัดเจนภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป นอกจากนี้ยังมีปัจจัยกระทบเพิ่มเติมเข้ามาที่สำคัญ 3 ด้าน ดังที่กล่าวข้างต้น จากผลของปัจจัยทั้งหลายนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการลงทุนโดยตรงสุทธิจากต่างประเทศในปี 2550 อาจปรับตัวลดลงจากปี 2549 ในกรณีพื้นฐาน ถ้ารัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ลอบวางระเบิดได้โดยเร็ว และผลกระทบต่อความกังวลของนักลงทุนจำกัดอยู่เฉพาะช่วงสั้นๆภายในไตรมาสแรก การลงทุนโดยตรงสุทธิจากต่างประเทศอาจมีมูลค่าประมาณ 5,860 ล้านดอลลาร์ฯ ลดลงร้อยละ 38 จากปี 2549 (ที่คาดว่ามีมูลค่าประมาณ 9,446 ล้านดอลลาร์ฯ) ต่ำกว่าประมาณการในช่วงก่อนหน้าที่คาดว่าจะมีมูลค่า 7,090 ล้านดอลลาร์ฯ ในกรณีหากไม่มีผลกระทบจากเหตุการณ์วินาศกรรมในกรุงเทพฯและการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ในกรณีเลวร้าย ซึ่งคาดว่าโอกาสที่เกิดขึ้นค่อนข้างน้อย เป็นกรณีที่ปัจจัยพื้นฐานการลงทุนในระยะยาวอาจได้รับผลกระทบหากเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นซ้ำและต่อเนื่องยาวนานออกไป ประกอบกับ

 

ย้อนกลับ:::

 

 

 

 

           

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1938 

           วันที่ 5 มกราคม 2550

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.