Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)
 

สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 : ส่งเสริมการค้าชายแดน-ท่องเที่ยวเฟื่องฟู

 
 
 
     สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 ซึ่งเชื่อมแขวงสะหวันนะเขตของลาวกับจังหวัดมุกดาหารของไทย ได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 และจะเปิดใช้สะพานในเดือนมกราคม 2550 สะพานแห่งใหม่นี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางไป-มาของประชาชนและการขนส่งสินค้าระหว่างไทยกับลาว ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับลาวมากยิ่งขึ้น ถือว่าสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 ช่วยสร้างความแข็งแกร่งในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายใต้โครงการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวตะวันออกและตะวันตก (East-West Economic Corridor) ระหว่างลาว ไทย และเวียดนาม ผ่านเส้นทางถนนหมายเลข 9 ซึ่งขณะนี้กำลังขยายเครือข่ายของเส้นทางถนนระหว่างประเทศสายนี้ไปถึงพม่าด้วย นับเป็นปัจจัยที่สนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอินโดจีน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของลาวให้เติบโตต่อเนื่อง รวมทั้งกระตุ้นการค้าชายแดนไทย-ลาว ทางจังหวัดมุกดาหาร-สะหวันนะเขตด้วย
            
      มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาว เพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่า 30% ต่อปี ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2549 (ม.ค.-ส.ค.) มูลค่าการค้าชายแดนรวมระหว่างไทย-ลาว เพิ่มขึ้นราว 30% จาก 24,520 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปี 2548 เป็น 32,083 ล้านบาท การส่งออกทางชายแดนของไทยไปลาวขยายตัวราว 21% เป็นมูลค่า 25,264.8 ล้านบาท ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ นับว่าการส่งออกชายแดนของไทยไปลาวชะลอลงเมื่อเทียบกับอัตราขยายตัวเฉลี่ยประมาณ 35% ต่อปี ระหว่างปี 2547-2548 เนื่องจากสินค้าส่งออกของจีนและเวียดนามที่ราคาถูกกว่าเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทย อย่างไรก็ตาม คาดว่าการเปิดสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 จะช่วยกระตุ้นให้การส่งออกสินค้าชายแดนระหว่างไทย-ลาวเพิ่มขึ้นรวดเร็วในระยะต่อไป
            
      ส่วนการนำเข้าทางชายแดนของไทยจากลาวในช่วงเดียวกันขยายตัว 86% จากมูลค่านำเข้า 3,658 ล้านบาท ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2548 เป็น 6,818 ล้านบาท นับว่าการนำเข้าสินค้าชายแดนจากลาวขยายตัวในอัตราสูงเมื่อเทียบกับอัตราเพิ่มเฉลี่ย 13% ต่อปีระหว่างปี 2547-2548 เนื่องจากไทยนำเข้าสินค้าแร่และผลิตภัณฑ์โลหะจากลาวเพิ่มขึ้นมากในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ทั้งนี้ ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าชายแดนกับลาวมาโดยตลอด ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2549 ไทยเกินดุลการค้าชายแดนกับลาวเป็นมูลค่าราว 18,446 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,242 ล้านบาท จากมูลค่าเกินดุล17,204 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปี 2548
 
           สำหรับการค้าชายแดนไทย-ลาวทางด่านมุกดาหาร-สะหวันนะเขตมีมูลค่ารวม 7,630 ล้านบาท ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2549 ไทยส่งออกไปลาวทางชายแดนนี้มูลค่า 5,356 ล้านบาท และนำเข้าเป็นมูลค่า 2,275 ล้านบาท ส่งผลให้ไทยยังคงเกินดุลการค้าชายแดนลาวเฉพาะที่จุดผ่านแดนนี้เป็นมูลค่าราว 3,080 ล้านบาท สินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นสินค้าส่งออกที่ไทยส่งไปลาวมากที่สุดทางด่านมุกดาหาร-สะหวันนะเขต คิดเป็นสัดส่วน 23% ของการส่งออกทางชายแดนด้านนี้ทั้งหมดของไทยไปลาว สินค้าส่งออกสำคัญอื่นๆ ของไทยทางชายแดนนี้ เช่น สินค้าเชื้อเพลิง เครื่องจักรที่ไม่ใช้ไฟฟ้า เครื่องไฟฟ้าอุปกรณ์และส่วนประกอบ และวัสดุก่อสร้าง ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากลาวทางด่านมุกดาหาร-สะหวันนะเขตมากที่สุด ได้แก่ สินค้าแร่ คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 74% ของการนำเข้าของไทยจากลาวทั้งหมดรองลงมา ได้แก่ ไม้ ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ และเครื่องจักรไม่ใช้ไฟฟ้า
          
       นอกจากสนับสนุนการค้าชายแดนไทย-ลาวแล้ว สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 ยังส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
หรือ ACMECS (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy) ที่สนับสนุนโครงการก่อสร้างถนนและสะพานเชื่อมประเทศสมาชิก ACMECS 5 ประเทศ (ไทย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การค้าชายแดนของประเทศสมาชิกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ สะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 ยังอำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวไป-มาระหว่างไทยกับลาวให้ขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากแขวงสะหวันนะเขตเป็นแขวงสำคัญด้านท่องเที่ยวแขวงหนึ่งของลาวและเป็นแขวงที่มีประชากรมากที่สุดของลาว
                       
          ปัญหาและอุปสรรคการค้าชายแดนไทย-ลาวที่ภาคเอกชนไทยควรระวังและภาครัฐควรช่วยสนับสนุนในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ การค้านอกระบบตามแนวชายแดนไทย-ลาว ความเสียเปรียบของสินค้าส่งออกไทยที่ต้องแข่งขันกับสินค้าจากจีนและเวียดนามในลาวที่มีราคาต่ำกว่า เส้นทางคมนาคมในลาวที่ไม่สะดวก และความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าระหว่างประเทศของลาว นอกจากนี้ ไทยควรระวังปัญหาคนลาวที่หลบหนีเข้ามาไทยทางชายแดนอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาแย่งงานคนไทย และปัญหาทางสังคมตามมา

ย้อนกลับ:::

 

 
 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1916 

      วันที่ 25 ธันวาคม 2549

   บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

 

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.