Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

ข้าวเหนียวและผลิตภัณฑ์ : ส่งออกเพิ่ม...ดันราคาพุ่ง

 
 
          ข้าวเหนียวเป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวางในประเทศ และเป็นอาหารหลักของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ นอกจากการบริโภคโดยตรงแล้วยังมีการนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราพื้นเมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยว อย่างไรก็ตามประเด็นที่น่าสนใจคือ การขยายตัวของโรงงานผลิตอาหารที่ใช้แป้งข้าวเหนียวเป็นวัตถุดิบ โดยเฉพาะโรงงานผลิตอาหารญี่ปุ่นแช่แข็ง เช่น ขนมโมจิ เกี๊ยวซ่า เป็นต้น ซึ่งเน้นผลิตเพื่อการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น เนื่องจากแนวโน้มจำนวนผู้สูงอายุในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารที่มีความนุ่มและพร้อมรับประทานไม่ยุ่งยากในการเตรียมจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การขยายตัวของการผลิตอาหารญี่ปุ่นแช่แข็งเพื่อการส่งออกนี้ส่งผลให้ความต้องการข้าวเหนียวเพื่อเป็นวัตถุดิบเพิ่มขึ้นด้วย รวมทั้งยังมีผลต่อการพัฒนาพันธุ์ข้าวเหนียวเพื่อให้มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ โดยผู้ประกอบการมีการคัดเลือกพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก นับว่าเป็นการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวและสร้างยังเป็นการขยายตลาดข้าวเหนียวในประเทศอีกด้วย
           
                ตั้งแต่ต้นปี 2549 ราคาข้าวเหนียวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ปริมาณการส่งออกข้าวเหนียวและผลิตภัณฑ์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 เท่ากับ 308,277 ตัน มูลค่า 4,653 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 และร้อยละ 38.8 ตามลำดับ คาดว่าในปี 2549 นี้ทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออกข้าวเหนียวและผลิตภัณฑ์ของไทยจะเพิ่มมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ คาดว่าปริมาณการส่งออกทั้งปี 2549 เท่ากับ 480,000 ตัน มูลค่า 7,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2548 แล้วทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.0 และร้อยละ 38.5 ตามลำดับ โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 มูลค่าการส่งออกข้าวเหนียวไปยังตลาดจีนเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 5 เท่าตัว กล่าวคือ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 มูลค่าการส่งออกข้าวเหนียวไปจีนเท่ากับ 945.9 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วเพิ่มขึ้นถึง 4.8 เท่าตัว เนื่องจากจีนต้องการข้าวเหนียวเพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานผลิตขนมขบเคี้ยวและเหล้าสาเก โดยการส่งออกข้าวเหนียวไปยังตลาดจีนเริ่มพุ่งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งนับเป็นปีแรกที่จีนแซงหน้ามาเลเซีย อินโดนีเซียและสหรัฐฯ ซึ่งเคยครองสัดส่วนการส่งออกข้าวเหนียวของไทยสามอันดับแรก ตลาดส่งออกข้าวเหนียวของไทยที่มีความสำคัญอันดับรองลงมาคือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สหรัฐฯ และไต้หวัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนำเข้าข้าวเหนียวเพื่อบริโภคโดยตรงของบรรดาแรงงานไทยที่เข้าไปทำงานและประกอบธุรกิจในประเทศต่างๆ ตลาดที่น่าสนใจในการขยายการส่งออกข้าวเหนียว คือ ประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง โดยในปัจจุบันการส่งออกข้าวเหนียวไปยังประเทศเหล่านี้ยังมีมูลค่าไม่มากนัก แต่มีอัตราการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูง นอกจากนี้การส่งออกปลายข้าวเหนียว แป้งข้าวเหนียวและสตาร์ชจากข้าวเหนียวก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย

            ความต้องการข้าวเหนียวที่เพิ่มขึ้นทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออกส่งผลให้ราคาข้าวเหนียวในปี 2549 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ราคาเฉลี่ยข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวที่เกษตรกรขายได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2549 พุ่งขึ้นไปเป็นตันละ 9,746 บาท จากที่เคยอยู่ในระดับตันละ 6,093 บาทในเดือนมกราคม 2549 และขยับเพิ่มขึ้นเป็นตันละ 8,062 บาทในเดือนกรกฎาคม 2549 คาดว่าราคาเฉลี่ยข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวที่เกษตรกรขายได้ในเดือนธันวาคม 2549 มีแนวโน้มจะแตะที่ตันละ 10,000 บาท เนื่องจากความต้องการข้าวเหนียวทั้งในประเทศและส่งออกยังคงเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลผลิตข้าวเหนียวในปี 2549/50 นั้นเพิ่มขึ้นไม่มากนัก คาดว่าตลอดทั้งปี 2550 ราคาข้าวเหนียวจะยังอยู่ในเกณฑ์สูง ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรขยายการปลูกข้าวเหนียวในปี 2550/51 รวมทั้งยังมีปัจจัยหนุนจากการที่รัฐบาลร่วมมือกับภาคเอกชนในการเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกข้าวเหนียวและผลิตภัณฑ์ โดยการพัฒนาพันธุ์ข้าวเหนียวเพื่อให้มีผลผลิตคุณภาพตรงกับความต้องการทั้งเพื่อบริโภคโดยตรงและความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องมากขึ้น นับว่าจะเป็นการผลักดันการส่งออกข้าวเหนียวและผลิตภัณฑ์ต่อไปในอนาคต

 

ย้อนกลับ:: 

 
              

 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ

 ฉบับที่ 1896  10 พฤศจิกายน 2549

           บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.