Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

งานเสวนาระดมสมอง

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
.

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

 

 การศึกษายุทธศาสตร์

 

การศึกษายุทธศาสตร์การค้าของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว:

กรณ๊ศึกษาสินค้าหัตถกรรม

     
 

1.ความสำคัญ

 

           การค้าของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวเป็นธุรกิจต่อเนื่องของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยเป็นจำนวนมหาศาลจากข้อมูลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยพบว่าในปี พ.. 2543 และ 2544 นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศใช้จ่ายซื้อของที่ระลึกของไทยประมาณร้อยละ 34 ของค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวทั้งสิ้น ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินไม่ต่ำกว่าปีละ 100,000 ล้านบาท และคาดว่านักท่องเที่ยวชาวไทยเองก็ใช้จ่ายซื้อของที่ระลึกและของฝากในจำนวนไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท เช่นกัน ความสำคัญอีกประการหนึ่งของการค้าของที่ระลึกนักท่องเที่ยวนอกเหนือจากรายได้จำนวนมากแล้ว ยังพบว่ารายได้ส่วนนี้เป็นส่วนของรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ตกอยู่ในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะถ้าเป็นนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่จัดการการท่องเที่ยวโดยการซื้อแพ็กเกจจากบริษัทจัดการท่องเที่ยวในต่างประเทศ (All Inclusive Vacation Package) ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเดินทาง ค่าที่พักและบริการ   อื่น ๆ  ถูกจ่ายชำระในต่างประเทศ

 

      ในขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาถึงสภาพการแข่งขันของสินค้า “Made in Thailand” ที่ส่งออกไปขายเพื่อสร้างรายได้ในต่างประเทศนั้น ผู้ผลิตสินค้าของไทยต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขันที่รุนแรง ทั้งจากคู่แข่งขันที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าและจากคู่แข่งขันที่มีความสามารถด้านการตลาดสูง มีการพัฒนา  คุณภาพและรูปแบบสินค้าจนมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่นเหนือกว่า แต่สินค้าของที่ระลึกนักท่องเที่ยว “Made in Thailand” ที่จำหน่ายในประเทศไทยกลับเป็นสินค้าที่มีความได้เปรียบในตนเองเนื่องจากลูกค้าเข้ามาซื้อหาถึงแหล่งผลิต และยังมีความต้องการในสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของไทย เพื่อระลึกถึงประสบการณ์จากการเข้ามาเยี่ยมเยือนประเทศไทย ซึ่งสินค้าของคู่แข่งขันประเทศอื่นใดก็ยากที่จะสร้างคุณค่าในส่วนนี้  มาเทียบเคียงกับสินค้าไทยได้  แม้ว่าโอกาสของการค้าของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวจะผันแปรไปตามสภาพการขยายตัวของการท่องเที่ยว การขยายตัวของการค้าของที่ระลึกนักท่องเที่ยวจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มรายได้และการสร้างกลยุทธ์ให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจและต้องการจ่ายซื้อสินค้ามากขึ้น ซึ่งจะต้องอาศัยการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวมของผู้มี   ส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมของที่ระลึกรวมทั้งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องและสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และสถาบันต่าง ๆ

 

        เมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในอนาคตซึ่งมีความต้องการได้รับความบันเทิงและความสะดวกสบายในระดับสากลพร้อมทั้งความรู้ที่เป็นสาระเรื่องราวประสบการณ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น    และความพยายามในการพัฒนาการท่องเที่ยวของไทยในทางอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม     และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ให้เป็นการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดการศึกษา การกระจายรายได้และอาชีพสู่ท้องถิ่น บนพื้นฐานของการสร้างจิตสำนึกของการอนุรักษ์วัฒนธรรมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทิศทางของการพัฒนากลยุทธ์สำหรับสินค้าของที่ระลึกที่มีความสอดคล้องกับแนวโน้มดังกล่าว  จึงควรจะมุ่งพัฒนาสินค้าของที่ระลึกประเภทหัตถกรรมที่มีคุณภาพ มีการพัฒนาคุณภาพวัสดุในท้องถิ่น พัฒนาฝีมือแรงงาน พร้อมทั้งการพัฒนารูปแบบและประเภทสินค้าที่สอดคล้องกับเรื่องราวสาระที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ตลอดจน การสร้างกระบวนการถ่ายทอดความรู้ สร้างความสะดวกสบายในการซื้อและการส่งมอบสินค้าให้แก่       นักท่องเที่ยวให้ครบวงจร โดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจและความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ให้เกิดการประสานพลัง (Synergy) ในการร่วมสร้างคุณค่าเพิ่มและยกระดับการท่องเที่ยวของไทยจากการเป็นการท่องเที่ยวในราคาถูก (Cheap destination) เป็นการท่องเที่ยวที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและยั่งยืน และนำ รายได้สู่ประเทศมากขึ้น

 

        สถาบันยุทธศาสตร์การค้า ได้ดำเนินการศึกษายุทธศาสตร์การค้าของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว โดยจะเสร็จสิ้นการศึกษาในเดือนกรกฎาคม 2547

 

2. วัตถุประสงค์

 

          เพื่อเสนอแนวทางในการจัดทำยุทธศาสตร์การค้าของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว : กรณีศึกษาสินค้าหัตถกรรม ในด้านการตลาด ในประเด็นที่เกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์และการวางแสดงสินค้า

 

 
     
 

    หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า

 แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน     สำหรับเจ้าหน้าที่


สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 04-Aug-2008.