UTCC Home
 
 

ข่าวการค้าการลงทุน

Mexico Chile / Peru | Mercosur | Colombia | Latin America |  Other |

 

 

โคลอมเบียอนุมัติ เหมืองทองคำ เกรย์สตาร์ ให้ผ่านในปีนี้

 

 

โคลอมเบียอนุมัติ เหมืองทองคำ เกรย์สตาร์ ให้ผ่านในปีนี้

เหมืองทองคำ เกรย์สตาร์คาดว่าจะได้รับการอนุมัติข้อกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมจากสภาแองกอสทูราในโคลอมเบียปีนี้
โดย จอห์น โอทิส

บริษัท เกรย์สตาร์ รีซอสเซส เป็นหนึ่งในบริษัทเหมืองทองคำนานาชาติ ในโคลอมเบีย เมื่อกลางปี 1990 (พ.ศ. 2533), ในปีเดียวกันที่กองโจรมาร์กซิส ได้ควบคุมพื้นที่หลายส่วนของประเทศ สัมปทานเหมืองทองของเกรย์สตาร์แห่งสภาแองกอสทูรานี้ตั้งอยู่ที่อำเภอ แคลิฟอร์เนีย-เวตัส ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของโคลอมเบีย โดยคาดว่าจะมีการครอบครองจำนวนทองที่มากถึง 10 ล้านทรอยออนซ์ ซึ่งสิ่งนี้ได้เชื่อมเข้ากับแผนของประธานาธิบดี ฮวน มานูเอล ซานโตส ที่ได้วางแผนการสร้างเหมืองแร่เป็นหนึ่งในห้าหัวรถจักรที่กระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

แต่แผนของเกรย์ สตาร์ ในการสร้างเหมืองทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโคลอมเบียประสบปัญหาเพราะทำเลอยู่ตรงบริเวณ Paramo (บริเวณที่ราบสูง) ซึ่งอยู่ในบริเวณที่ถูกปกคลุมไปด้วยเมฆและห้วยที่เต็มไปด้วยถ่านหินร่วนๆ รวมทั้งทุ่งหญ้าและต้นไม้ขนาดเล็กโดยเป็นยอดภูเขาที่ทำหน้าที่เป็นที่มาของแหล่งน้ำสำคัญในประเทศ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ชี้ให้เห็นว่าในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการปรับปรุงข้อกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามสกัดแร่จากparamo แต่รัฐบาลได้กล่าวโต้แย้งว่าโครงการของเกรย์สตาร์ต้องได้รับการวิเคราะห์ตามแต่กรณี ประธานของเกรย์สตาร์อย่างสตีฟ เคสเลอร์ได้ออกมาพูดเมื่อเร็วๆนี้ใน Latin Business Chronicle เกี่ยวกับทัศนคติของบริษัทในโคลอมเบีย

Latin Business Chronicle: คุณมีความคาดการณ์อย่างไรในเรื่องของเหมืองแร่ในโคลอมเบีย
Kesler: ในละตินอเมริกา ชิลีเป็นประเทศที่มีการลงทุนด้านเหมืองแร่เมื่อปี พ.ศ. 2533, เปรูในปี พ.ศ. 2543 และในปี พ.ศ. 2553 ก็ได้เกิดขึ้นที่ประเทศโคลอมเบีย มีแหล่งแร่ธรรมชาติ เพียงแต่ยังไม่มีการสำรวจเกิดขึ้นเมื่อ 15-20 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นโคลอมเบียจะสามารถคงความสมดุลได้เหมือนอย่างที่ชิลีเคยทำเหมือน 20 ปีก่อน ดังนั้นการทำเหมืองเป็นตัวผลักดันในการเติบโต ผู้นำในกลุ่มรัฐบาลกล่าวว่า “เรากำลังทำการพัฒนาอุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่ และทำโดยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด แต่เราต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่เพื่อที่จะปรับปรุงมาตรฐานการใช้ชีวิตของประชาชนโคลอมเบียให้ดียิ่งขึ้น”

โปรเจ็กต์แองกอสทูรามีการพัฒนาอย่างไรบ้าง ?
Kesler: เราได้รับโปรเจ็กต์นี้มา 15 ปี ในอำเภอ แคลิฟอร์เนีย-เวตัส โกลด์ ที่นั่นมีเหมืองขนาดเล็กที่มีอายุเกือบ 500 ปี ซึ่งเราได้ทราบมาว่าธรณีวิทยาของที่นั่นมีความน่าดึงดูดใจเป็นอย่างมาก หลังจากได้เริ่มทำการสำรวจเราได้ระงับการปฏิบัติงานในระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2545 เนื่องจากเป็นพื้นที่ต้องห้ามของกองกำลัง FARC เราได้กลับมาดำเนินการในปี พ.ศ. 2545 โดยใช้เวลาสองปีถัดมาทำการจัดการพื้นที่กว่า 300 เหมืองที่เคยทำการหว่านเมล็ดพืชในเป็นบริเวณที่เหมาะแก่การทำเหมืองตั้งแต่เราได้ทำการขุดเจาะหลุมใต้พื้นดินกว่า 300,000 เมตรเพื่อพิสูจน์ว่าเราได้แหล่งทรัพยากรแหล่งใหญ่ไว้ในครอบครอง

คุณได้ลงทุนเป็นจำนวนเท่าไหร่ในโคลอมเบีย ?
Kesler: เราได้ใช้เงินเป็นจำนวน 150 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯไปในการสำรวจ,ศึกษา และกว้านซื้อที่ดิน กลุ่มผู้สนับสนุนเกรย์สตาร์อย่างบริษัทสัญชาติแคนาดาได้ดำเนินการในพื้นที่แห่งนั้น โดยมีความคาดหวังว่า แคลิฟอร์เนีย-เวตัสจะเป็นหนึ่งในเขตเหมืองทองคำที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เรามีแหล่งทรัพยากรกว่า 10 ล้านออนซ์ และที่นั่นมีผู้คนที่เชื่อมั่นว่า...ภายในเมืองนี้จะมีทองคำมากถึง 30 ล้านออนซ์ ในขณะนี้ยังไม่มีโครงการเหมืองขนาดใหญ่ใดที่พร้อมทำการในประเทศนี้เนื่องจากสาเหตุที่ยังไม่มีใครไปถึงที่นั่น เหมืองแห่งนี้เป็นเหมืองเดียวที่พร้อมสำหรับการลงทุน, สร้างอาชีพ และเติมเต็มให้กับแผนการของรัฐบาล ซานโตสที่จะนำการทำเหมืองเป็นตัวผลักดันให้เศรษฐกิจเกิดการเติบโต

คุณสามารถที่จะดำเนินการปฏิรูปเหมืองแร่ในโคลอมเบียที่มีมาตรการสั่งห้ามการสกัดแร่ธรรมชาติจากบริเวณ paramo ในตอนนี้ได้หรือไม่ ?
Kesler: ในมาตรการนี้ได้กล่าวไว้ว่าถ้าเหมาะสมสำหรับหน่วยงานสิ่งแวดล้อมที่จะรับภาระทางด้านเทคนิค, สังคม และการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และกำหนดเขตที่บริเวณ paramo ควรจะยกเว้นจากการทำเหมือง ซึ่งมีความไม่แน่นอนทางกฎหมาย แต่เรามีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ที่จะฟื้นฟูพื้นที่ที่เราจะทำให้เกิดผลกระทบ โดยจะใช้พื้นที่ 1,000 เฮกตาร์ โดยสำหรับทุกๆเฮกตาร์ที่เราส่งผลกระทบและกำลังฟื้นคืน เราจะซื้อพื้นที่อีก 6 เฮกตาร์ในพื้นที่อื่นสำหรับป้องกันที่ดินเหล่านั้น ซึ่งข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มเรากำลังได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น, ไม่ทำความเสียหายให้กับ paramo

ไม่ได้มีเพียงแค่นักสิ่งแวดล้อมที่คัดค้านต่อโครงการนี้ ผู้นำทางธุรกิจและสมาคมวิศวกรรมในกรุงบูคาราแมนกา (เมืองหลวงของรัฐแซนแทนเดอร์) ก็ได้ออกมาต่อต้านเกรย์สตาร์ด้วยเช่นกัน พวกเขากล่าวว่า การทำเหมืองแร่ขนาดใหญ่มากเช่นนั้นจะทำให้เกิดอันตรายกับบริเวณแหล่งน้ำได้
Kesler: สำหรับชีวิตของผม ผมได้พบว่ามันยากที่จะเข้าใจสิ่งนั้น นี่คือโครงการที่จะนำเทคโนโลยีสูงสุดแก่โลกนี้และโอกาสอีกหลายๆอย่างสำหรับบริษัททางด้านวิศวกรรม การทำเหมืองแร่ในโคลอมเบียกำลังจะเกิดขึ้น ถ้าคุณไม่มีความรับผิดชอบในการทำเหมืองคุณก็จะได้เหมืองแร่ที่ผิดกฎหมายที่ทำให้เกิดความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อม เหมืองทองคำที่ผิดกฎหมายในประเทศนี้ทุกแห่งได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงและส่วนใหญ่ได้ใช้เป็นเงินทุนของกลุ่มธุรกิจที่ผิดกฎหมายในการซื้ออาวุธ ประเทศนี้ต้องการการลงทุนอย่างเต็มที่ และประธานซานโตสก็รู้เรื่องนี้เป็นอย่างดีทีเดียว

คุณคาดหวังการตัดสินใจครั้งสุดท้ายจากรัฐบาลในการสร้างเหมืองทองคำเมื่อไหร่ ?
Kesler: เราหวังว่าข้อกฎหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมจะได้รับการอนุมัติในปีนี้และเริ่มการผลิตในกลางปี พ.ศ. 2556


 
 


   
   
   

 

 

 
 
SEA-LAC Trade Center : The Southeast Asia and Latin America Trade Center : University of the Thai Chamber of Commerce
126/1 Vibhavadee-Rangsit Road, Dindaeng, Bangkok 10400, Thailand. Tel. +66-2697-6641-2 Fax. +66-2277-1803 E-mail : [email protected]