หลักการและเหตุผล

ศตวรรษ 21 อันเป็นช่วงที่โลกก้าวสู่ความพลิกผันปั่นป่วน (disrupted world) การวิจัยด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นั้นควรจะเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าไปอย่างไร และงานวิจัยเชิงสหวิทยาการจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นหรือไม่ อย่างไร เพื่อตอบโจทย์ที่ท้าทายต่อการแก้ปัญหาการวิจัยที่ซับซ้อนขึ้น อาจเป็นคำถามสำคัญที่นักวิจัยจะต้องตระหนักให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถทำวิจัยที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้ดียิ่งขึ้น

เช่นเดียวกับภาษาและสังคมที่มีความเป็นพลวัตและสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ผู้คนในสังคมจากทุกมุมโลกได้เรียนรู้ความหลากหลายทางภาษาไปพร้อมกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม อันเป็นโลกไร้พรมแดน เมื่อโลกก้าวสู่ยุคดิจิตัล ภาษาและวัฒนธรรมที่ถูกหลอมรวมเข้าด้วยกันนั้น จะทำให้เราสามารถทำความเข้าใจการเชื่อมต่อของภาษาและวัฒนธรรมในโลกยุคดิจิตัลให้กระจ่างขึ้น ผ่านการศึกษาในเชิงสหวิทยาการได้ด้วยเช่นกัน

คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจึงได้จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติครบ 40 ปี ในหัวข้อ “ก้าวสู่อนาคตด้วยการวิจัยเชิงสหวิทยาการ” ในวันที่ 9 มิถุนายน 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยด้านภาษาและบริบททางสังคมที่หลากหลายและงานวิจัยเชิงสหวิทยาการที่จะมีบทบาทสำคัญต่อสังคมในอนาคตต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบถึงแนวโน้มและภาพรวมของการวิจัยด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในศตวรรษ 21
2. ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบถึงบทบาทของการวิจัยเชิงสหวิทยาการต่องานวิจัยด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในสาขาต่างๆ อาทิ การสื่อสาร ธุรกิจ เทคโนโลยี การสอนและการเรียนรู้ด้านภาษา การแสดง สื่อ การเมือง และอื่นๆ

หัวข้อในการนำเสนอบทความ

ภาษา

เกี่ยวข้องกับ การเมือง สื่อ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธุรกิจ การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ภาษาใน AEC และอื่น ๆ

ภาษาศาสตร์

Applied Linguistics, Bi/Multilingualism, Computational Linguistics / Artificial Intelligent (AI) Discourse/Text Analysis, Linguistic Variation, Pragmatics, Sociolinguistics

ภาษาในการเรียนการสอนและการเรียนรู้

Bi/Multilingualism, TESL, TEFL, TESOL, Teaching English as academic purposes/specific purposes, Teaching Foreign Languages (Chinese, Japanese, Korean etc.), Chinese Studies, Japanese Studies, Korean Studies, Thai Studies and etc., Classroom or Action Research/ Classroom Assessment and Testing, Innovations (New Approaches) in Teaching and Learning, Language Teaching in a Virtual World, Multi-literacy, Teacher Education/ Teacher Training

การศึกษา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ศิลปะและการออกแบบ โบราณคดี บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ การศึกษา ประวัติศาสตร์ สหวิทยาการ กฎหมาย นิเทศศาสตร์ ปรัชญา ศิลปะการแสดง รัฐศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สังคมศึกษา ฯลฯ

หลักเกณฑ์การเสนอบทความวิจัย/วิชาการ และรูปแบบการนำเสนอผลงาน

การนำเสนอแบบบรรยาย Oral Presentation
1. ส่งบทความวิจัย/บทความวิชาการเพื่อนำเสนอภายในวันที่ 25 เมษายน 2563 โดยจัดทำต้นฉบับตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. บรรยายโดยใช้โปรแกรม Microsoft Power Point
3. เวลาในการบรรยาย 20 นาที ซักถาม 10 นาที
4. นำเสนอในวันที่ 9 มิถุนายน 2563 ณ อาคาร 23701, 23201-4 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตามกำหนดการ)

เนื้อหาและรายละเอียดการเตรียมต้นฉบับบทความวิจัย บทความระดับชาติ

ผลงานจะต้องไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อนและไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงวารสารใด ๆ บทความเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word โดยจัดหน้ากระดาษขนาดมาตรฐาน A4

1. ชื่อเรื่อง (Title) ควรสั้น กะทัดรัด และสื่อเป้าหมายหลักของการศึกษาวิจัย ไม่ใช้คำย่อ ความยาวไม่ควร เกิน 100 ตัวอักษร ด้วยรูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้นำชื่อเรื่องภาษาไทยขึ้นก่อน
2. ชื่อผู้นิพนธ์และที่อยู่ผู้เขียนบทความทุกคน (Author and Co-author) ให้มีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และระบุตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานหรือสถาบัน ที่อยู่ และ E-mail ของผู้นิพนธ์ เพื่อใช้ติดต่อเกี่ยวกับต้นฉบับและบทความที่ตีพิมพ์แล้ว ด้วยรูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 pt.
3. บทคัดย่อ (Abstract) ให้มีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เป็นเนื้อความย่อที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย โดยเรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหา เช่น วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลงานและการวิจารณ์ อย่างต่อเนื่องกัน ไม่ควรเกิน 250 คำ ไม่ควรมีคำย่อ ให้บทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนภาษาอังกฤษ ด้วยรูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. ทั้งนี้ บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ผู้นิพนธ์ต้องนำไปผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของภาษาจากผู้เชี่ยวชาญก่อน
4. คำสำคัญหรือคำหลัก (Keywords) ให้ระบุทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แต่ละชุดไม่เกิน 5 คำ ใส่ไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา ด้วยรูปแบบอักษร TH SarabunPSKขนาด 16 pt.
5. บทนำ (Introduction) เป็นส่วนของเนื้อหาที่บอกความเป็นมาและเหตุผลนำไปสู่การศึกษาวิจัย ให้ข้อมูลทางวิชาการพร้อมทั้งจุดมุ่งหมายที่เกี่ยวข้องอย่างคร่าว ๆ และมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาและการวิจัยนั้นด้วย ด้วยรูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 pt.
6. วิธีการศึกษา ให้ระบุรายละเอียด วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษา อธิบายวิธีการศึกษา หรือแผนการทดลองทางสถิติ การสุ่มตัวอย่าง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยรูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 pt.
7. ผลการศึกษา (Results) แจ้งผลที่พบตามลำดับหัวข้อของการศึกษาวิจัยอย่างชัดเจนได้ใจความ ถ้าผลไม่ซับซ้อนไม่มีตัวเลขมาก ควรใช้คำบรรยาย แต่ถ้ามีตัวเลขมาก ตัวแปรมาก ควรใช้ตาราง แผนภูมิแทน ไม่ควรมีเกิน 5 ตารางหรือแผนภูมิ ควรแปรความหมายและวิเคราะห์ผลที่ค้นพบ และสรุปเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ด้วยรูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 pt.
8. วิจารณ์และสรุปผล (Discussion and Conclusion) ชี้แจงว่าผลการศึกษาตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย หรือแตกต่างไปจากผลงานที่มีผู้รายงานไว้ก่อนหรือไม่ อย่างไร เหตุผลใดจึงเป็นเช่นนั้น และมีพื้นฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้ และให้จบด้วยข้อเสนอแนะที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ หรือทิ้งประเด็นคำถามการวิจัย ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการวิจัยต่อไป ด้วยรูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 pt.
9. ตาราง รูป รูปภาพ และแผนภูมิ (Table, Picture, Figure, Diagram and Graph) ควรคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็น แยกออกจากเนื้อเรื่องโดยเรียงลำดับให้สอดคล้องกับคำอธิบายในเนื้อเรื่อง และต้องมีคำอธิบายสั้นๆ แต่สื่อความหมาย ได้สาระครบถ้วน ในกรณีที่เป็นตาราง คำอธิบาย ต้องอยู่ด้านบน ในกรณีที่เป็นรูปภาพ หรือแผนภูมิ คำอธิบายอยู่ด้านล่าง ด้วยรูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 pt.
10. กิตติกรรมประกาศ ระบุสั้นๆ ว่าได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย และความช่วยเหลือจากองค์กรใดหรือใครบ้าง ด้วยรูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 pt.
11. เอกสารอ้างอิง (References) สำหรับการพิมพ์เอกสารอ้างอิง ทั้งเอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษโดยมีหลักการทั่วไป คือ เอกสารอ้างอิงต้องเป็นที่ถูกตีพิมพ์และได้รับการยอมรับทางวิชาการ ไม่ควรเป็นบทคัดย่อ และไม่ใช่การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ถ้ายังไม่ได้ถูกตีพิมพ์ ต้องระบุว่า รอการตีพิมพ์ (in press) ด้วยรูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 pt.
12. ต้นฉบับสามารถส่งได้ทางระบบ Online (Submission) แนบไฟล์เอกสาร Microsoft Word ผ่านหน้าเว็บไซต์ https://utcc2.utcc.ac.th/humanities_conf2020/ โดยลงทะเบียนที่ registration menu และแนบไฟล์ด้านล่างหลังจากลงทะเบียนแล้ว

รายละเอียดการเตรียมต้นฉบับบทความทางวิชาการ

ผลงานจะต้องไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อนและไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงวารสารใด ๆ บทความเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word โดยจัดหน้ากระดาษขนาดมาตรฐาน A4 ใช้รูปแบบเดียวกันกับบทความวิจัย โดยมีส่วนประกอบของบทความวิชาการดังนี้

1. ชื่อเรื่อง
2. ผู้แต่ง
3. บทคัดย่อ
4. คำสำคัญ
5. บทนำ
6. เนื้อหา
7. บทสรุป
8. เอกสารอ้างอิง

กรณีสัมภาษณ์ ให้ระบุชื่อ สกุล ผู้ให้สัมภาษณ์ ตำแหน่ง (ถ้ามี) วันเดือนปีที่สัมภาษณ์
ตัวอย่างรูปแบบการเขียนบทความระดับชาติ
  :ภาษาไทย  :Korean Templete  :Chinese Templete

ค่าลงทะเบียน

• Early bird (ภายใน 31 มีนาคม 2563) และนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย 1,500 บาท
• ลงทะเบียนปกติ (หลัง 31 มีนาคม 2563) 2,000 บาท
• ผู้เข้าฟัง ท่านละ 800 บาท (รวมเอกสาร ป้ายชื่อ อาหารกลางวันและอาหารว่าง)

การชำระเงินค่าลงทะเบียน

ชื่อบัญชี นางสาวอุสา สุทธิสาครและนางสุกัญญา สุขวิบูลย์
บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
เลขที่บัญชี 030-0-32591-7

หมายเหตุ
• เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้วให้แนบสำเนาการโอนเงินผ่านระบบที่หน้าลงทะเบียนหรือส่งหลักฐานการโอนเงินที่ อาจารย์สุกัญญา สุขวิบูลย์ [email protected]
• สามารถรับใบเสร็จได้ที่หน้างานหรือติดต่ออาจารย์สุกัญญา สุขวิบูลย์ ที่ [email protected]

กำหนดการส่งบทความ

วันสุดท้ายการลงทะเบียน early bird 31 มีนาคม 2563
วันสุดท้ายการส่งบทความ 25 เมษายน 2563
วันสุดท้ายผู้นำเสนอส่งบทความฉบับสมบูรณ์ที่แก้ไขตามคำแนะนำผู้ทรงคุณวุฒิ 27 พฤษภาคม 2563
เผยแพร่เอกสารผลงาน proceedings ในเวบไซด์การประชุม ตั้งแต่ 20 มิถุนายน 2563

VENUE

University of the Thai Chamber of Commerce, Bangkok, Thailand

CONTACT INFORMATION

Associate Professor Dr. Usa Sutthisakorn
[email protected]
[email protected]

© UTCC. All Rights Reserved.