หลักการและเหตุผล

ความพลิกผันทางดิจิทัลและสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายการค้นหาแนวทางและทางออกในการแก้ปัญหาของมนุษยชาติ ทั้งด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ ตลอดจนการจัดการศึกษาในรูปแบบออนไลน์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในการแก้ไขวิกฤติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่จำ เป็นต้องมีแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ เพื่อการศึกษาและการวิจัยที่ดีขึ้น หนึ่งในแนวทางนั้นคือการใช้มุมมองเชิงสหวิทยาการเพื่อจัดการกับความท้าทายอันเร่งด่วนนี้

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ด้านมนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในหัวข้อ “เส้นทางสู่ศักยภาพของมนุษยศาสตร์: มุมมองเชิงสหวิทยาการ” ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนมุมมอง ความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับการวิจัยด้านภาษาและบริบททางสังคมที่หลากหลายและงานวิจัยเชิงสหวิทยาการที่จะมีบทบาทสำคัญต่อสังคมในอนาคตต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบถึงแนวโน้มและภาพรวมของการวิจัยด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในศตวรรษที่ 21
2. ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบถึงบทบาทของการวิจัยเชิงสหวิทยาการต่องานวิจัยด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในสาขาต่างๆ อาทิ การสื่อสาร ธุรกิจ เทคโนโลยี การสอนและการเรียนรู้ด้านภาษา การแสดง สื่อ การเมือง และอื่นๆ
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีโอกาสสร้างเครือข่ายทางด้านการสอนและการวิจัย

หัวข้อในการนำเสนอบทความ

ภาษา

ที่เกี่ยวข้องกับ การเมือง สื่อ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธุรกิจ การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ภาษาใน AEC และอื่นๆ

ภาษาศาสตร์
  •  ภาษาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Linguistics)
  •  สอง/พหุภาษา (Bi/Multilingualism)
  •  ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computational Linguistics) / ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent)
  •  การวิเคราะห์สัมพันธสาร (Discourse Analysis)
  •  การวิเคราะห์ข้อความ (Text Analysis)
  •  การแปรของภาษา (Linguistic Variation) วัจนปฏิบัติศาสตร์ (Pragmatics)
  •  ภาษาศาสตร์สังคม (Sociolinguistics)
ภาษาในการเรียนการสอนและการเรียนรู้
  •  สอง/พหุภาษา (Bi/Multilingualism)
  •  การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง/ต่างประเทศ (Teaching English as a second/ foreign language)
  •  การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง/นานาชาติ (Teaching English as a lingual franca/ an international language)
  •  การสอนภาษาอังกฤษเพื่อจุดประสงค์ด้านวิชาการ (Teaching English for Academic Purposes)
  •  การสอนภาษาอังกฤษเพื่อจุดประสงค์เฉพาะ (Teaching English for Specific Purposes)
  •  การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน / Classroom or Action Research
  •  การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน (Classroom Assessment and Testing)
  •  นวัตกรรมการเรียนการสอน (Innovations (New Approaches) in Teaching and Learning)
  •  การสอนภาษาแบบเสมือนจริง (Language Teaching in a Virtual World)
  •  ทักษะการสื่อสารรอบด้าน (Multi-literacy)
  •  การศึกษาครู / การอบรมครู (Teacher Education/ Teacher Training)
การศึกษา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ศิลปะและการออกแบบ โบราณคดี บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ การศึกษา ประวัติศาสตร์ สหวิทยาการ กฎหมาย นิเทศศาสตร์ ปรัชญา ศิลปะการแสดง รัฐศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สังคมศึกษา ฯลฯ

ค่าลงทะเบียน

• Early bird (ภายใน 31 มีนาคม 2565) และนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย 1,500 บาท
• ลงทะเบียนปกติ (หลัง 31 มีนาคม 2565) 2,000 บาท

การชำระเงินค่าลงทะเบียน

ชื่อบัญชี น.ส.วุฒิยา พยัคฆ์มาก
บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนดินแดง
เลขที่บัญชี 128-4-27507-8

หมายเหตุ
• เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้วให้แนบสำเนาการโอนเงินผ่านระบบที่หน้าเว็บลงทะเบียนหรือส่งหลักฐานการโอนเงินที่ ดร. วุฒิยา พยัคฆ์มาก [email protected]
• สามารถติดต่ออาจารย์สุกัญญา สุขวิบูลย์ เพื่อรับใบเสร็จรับเงิน ที่ [email protected]

กำหนดการส่งบทความ

วันสุดท้ายการส่งบทคัดย่อ 28 กุมภาพันธ์ 2565
วันสุดท้ายการลงทะเบียน early bird 31 มีนาคม 2565
วันสุดท้ายการส่งบทความ 18 เมษายน 2565
วันสุดท้ายผู้นำเสนอส่งบทความฉบับสมบูรณ์ที่แก้ไขตามคำแนะนำผู้ทรงคุณวุฒิ 20 พฤษภาคม 2565
เผยแพร่เอกสารผลงาน proceedings ในเวบไซด์การประชุม ตั้งแต่ 20 มิถุนายน 2565

© UTCC. All Rights Reserved.