สถาบันอาหาร
ชี้ตลาดอุตสาหกรรมอาหาร ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)
และสหพันธ-รัฐรัสเซีย มีการขยายตัวและเติบโตสูง
แนวโน้มส่งออกอาหารไทยสดใส
ระบุรัสเซียเป็นตลาดใหม่ของสินค้าอาหารแปรรูป
ชูจุดแข็งประเทศไทยได้เปรียบคู่แข่งหลายด้าน
ทั้งศักยภาพของผู้ผลิต คุณภาพ สินค้า
โดยเฉพาะการที่รัสเซียมุ่งใช้ไทยเป็นฐานเข้าสู่อาเซียน
ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร
ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยถึงการจัดเสวนาเรื่อง เปิดมุมมองใหม่
ธุรกิจอาหารในตลาด UAE และ รัสเซีย ว่า
สถาบันอาหารมีหน้าที่สร้างระบบชี้นำเสนอแนะมาตรการรองรับ
และให้ข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร
ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรม
และตระหนักถึงความจำเป็นของการส่งออกและขยายตัวการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทย
จึงได้จัดงานเสวนานี้ขึ้น
เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองในการผลิตให้สอดคล้องต่อความต้องการของผู้บริโภค
การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันได้
โดยเฉพาะการผลิตให้ได้มาตรฐานสากล
ทั้งนี้ตลาดสินค้าอาหารของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือตลาดในประเทศมี สัดส่วนประมาณ 25-30%
ที่เหลือเป็นตลาดส่งออกต่อ (Re-export)
มีรัฐดูไบเป็นศูนย์กลางการค้าและกระจาย สินค้า
มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 15 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (จากมูลค่าการนำเข้า
43.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) และมูลค่าการส่งออกต่อปี 2548
ประมาณ 63 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ที่กำลังเติบโตส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ
คาดการณ์ว่าการบริโภคอาหารของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยว
และประชากรของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยในปี 2549 สหรัฐอาหรับ
เอมิเรตส์ มีประชากรประมาณ 4.83 ล้านคน และในปี 2554
คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.88 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ยังคงพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอาหารและเครื่องดื่มจากต่างประเทศเป็นสำคัญ
เนื่องจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีปริมาณผลิตผลทางการเกษตรไม่มากนัก
จะมีมากเฉพาะอุตสาหกรรมที่รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนเพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศ
|