ค้นหา
ห้องข่าว

ประสานร่วมลงทุน น่าจับตามองสำหรับพัฒนา SMEs ระดับโลก

 

Dr. Bad-El-Din A.Ibrahim Economist จาก Office of Undersecretary, Ministry of Finance, Sultanate of Oman กล่าวไว้ในการประชุมInternational Small Business Congress (ISBC) ครั้งที่ 34 โดยอธิบายในกลไกการทำงานของ Arab Gulf Corporation Council (AGCC) ในปัจจุบันว่ามีวิธีการระดมทุนเพื่อดำเนินธุรกิจมี 2 วิธี คือแบบตะวันตกและแบบอิสลาม โดยเชื่อว่าการเจริญเติบโตของการระดมทุนใบแบบอิสลามในประเทศกลุ่มอาหรับนั้นนับเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาอุตสาหกรรมร่วมลงทุนระดับท้องถิ่น แต่ในทางปฏิบัติจริงนั้นธนาคารอิสลามในภูมิภาคมีการลงทุนในสัดส่วนที่น้อยสำหรับการลงทุนดังกล่าว โดยDr. Ibrahim เชื่อว่าเงินร่วมลงทุนมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการลงทุนในภาคเอกชน การสร้างโอกาสโดยผ่านการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผลผลิตจากการผลิตจากสินค้าและบริการอื่นที่ไม่ใช่น้ำมัน เพิ่มสูงขึ้น ช่วยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของการระดมทุนโดยการกู้ยืมของ SMEs

ด้านนายคุณากร เมฆใจดี ประธานสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Thai Venture Capital Association) ได้กล่าวเกี่ยวกับกิจกรรมของการร่วมลงทุนในประเทศไทยในช่วง20ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยผ่านช่วงเศรษฐกิจ 3 ระยะ คือ ช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่ ในปี2530-2539 ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจไทยในปี2540-2543 และช่วงสุดท้ายช่วงฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจในช่วงปี 2544-2549 ได้กล่าวว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเจริญเติบโตที่ดีโดยเป็นกลุ่มที่กองทุนร่วมลงทุนให้ความสนใจเข้าร่วมลงทุน ได้แก่ กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มพลังงาน และธุรกิจบริการทางด้านการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารที่ให้บริการทางด้านการเงิน เช่นธุรกิจเช่าซื้อ ธุรกิจซื้อขายลูกหนี้การค้า (Factoring) เป็นต้น ซึ่งแนวโน้มนี้นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญจากธุรกิจที่มีแนวโน้มสดใสในปี 2546 คือ เทคโนโลยี ซอฟแวร์ อิเลคโทรนิคส์ ยานยนต์ และ ธุรกิจการเกษตร ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญต่างกล่าวถึงความจำเป็นของประเทศไทยที่จะต้องเพิ่มจำนวนผู้บริหารกองทุนเพื่อช่วยดำเนินการบริการกองทุนร่วมทุนต่างๆ เนื่องจากการให้การสนับสนุนหลักกับผู้บริหารกองทุนเหล่านี้จะสามารถช่วย SMEsให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาสืบต่อไป

 

                                                                             ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2550

ดาวน์โหลด PDF

 

 



ศูนย์ศึกษาธุรกิจครอบครัวและ SMEs ( Family Business & SMEs Study Center ) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ตึก 7 ชั้น 12
เบอร์โทรศัพท์ 0-2-697-6351-2 โทรสาร 0-2697-6350