ค้นหา
ห้องข่าว

ฟันธง! ธุรกิจแฟรนไชส์เหมาะกับโลกยุคปัจจุบัน

 

           นาย Jose A. Minana รองประธานและหัวหน้าบริษัท Jollibee Foods Corporation จากประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวในงานสัมมนา International Small Business Congress (ISBC) ครั้งที่ 34 หัวข้อ กลยุทธ์ความสำเร็จธุรกิจแฟรนไชส์ ว่า ยุทธศาสตร์แห่งความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ของบริษัท Jollibee Foods Corporation คือ ทำให้สินค้าและบริการมีความอยู่ตัวเพียงพอที่จะให้ผู้อื่นสามารถบริหารงานได้ ดังนั้น สินค้าของเราจะต้องมีคุณภาพสม่ำเสมอ ด้านนาย Matthew Shay ประธานของ International Franchise Association (IFA) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงธุรกิจแฟรนไชส์ว่าเป็นวิธีการที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา SMEs ทั่วโลกสำหรับทั้งเจ้าของตราสินค้าและผู้ลงทุนแล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการลงทุนที่ปลอดภัยกว่า และมีประโยชน์ที่ชัดเจนหลายประการ มีการเขียนแผนธุรกิจที่ดี ตราสินค้าเป็นที่รู้จัก ทั้งยังมีระบบบริหารด้านเทคโนโลยีที่อยู่ตัวแล้ว แต่ว่าธุรกิจแฟรนไชส์เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการพัฒนาการลงทุน แต่ก็มีข้อเสียบางประการ ผู้ลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ไม่มีความเป็นอิสระมากนักในการบริหาร และใช่ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ทุกแห่งจะประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตามก็ยังเชื่อว่าประโยชน์ของธุรกิจแฟรนไชส์ยังมีมากกว่าข้อเสียและธุรกิจแฟรนไชส์ยังเป็นลู่ทางที่ดีที่สุดในการฉวยโอกาสทางธุรกิจจากตลาดใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านการแพทย์ หรือบ้านพักสำหรับผู้เกษียณอายุ เป็นต้น

นายประวิทย์ จิตนราพงศ์ ประธาน และกรรมผู้จัดการบริษัทแบล็ค แคนยอน ได้กล่าวถึง Micro-franchising ว่าเป็นเทรนด์ใหม่ล่าสุดในโลกของธุรกิจแฟรนไชส์ โดยเป็นการลอกแบบกฏเกณฑ์การบริหารธุรกิจแฟรนไชส์เพียงแต่มุ่งเป้าหมายไปที่ตลาดระดับรากหญ้าสำหรับแนวคิดนี้ได้ถูกพัฒนามาจากแนวคิดเรื่อง Micro-Credit ของศาสตราจารย์ Dr. Yunus ในประเทศบังคลาเทศ เจ้าของรางวัลโนเบลในปี 2549 ซึ่งได้รับรางวัลจากการให้ความช่วยเหลือคนยากจนในการก่อตั้งธุรกิจในระดับรากหญ้า ซึ่งเมื่อผสมผสานแนวคิดนี้เข้ากับรูปแบบการบริหารธุรกิจแบบอเมริกันคือการลอกแบบแนวคิดทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอยู่แล้ว ก็จะเกิดเป็นรูปแบบทางธุรกิจแบบใหม่ในลักษณะผสมผสาน เมื่อนำธุรกิจในรูปแบบใหม่นี้ไปใช้ในพื้นที่ยากจนก็จะสามารถช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้ โดยการสอนให้คนจนรู้จักพึ่งตนเอง

 

                                                                             ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ 13 พฤศจิกายน 2550

ดาวน์โหลด PDF

 

 



ศูนย์ศึกษาธุรกิจครอบครัวและ SMEs ( Family Business & SMEs Study Center ) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ตึก 7 ชั้น 12
เบอร์โทรศัพท์ 0-2-697-6351-2 โทรสาร 0-2697-6350