ค้นหา
ห้องข่าว

กูรูมะกะโรนี แนะทางรอด SMEs ฉีกสไตล์หลบกระแสหลัก

 

Mr. Michele Perini ประธานบริษัท Fiera Milano S.p.A. ประเทศอิตาลี กล่าวในงานสัมมนา International Small Business Congress (ISBC) ครั้งที่ 34 หัวข้อ เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในตลาด บทบาทของผู้ประกอบการ SMEs” ว่า ตลาดโลกเป็นความท้าทายยิ่งสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และเป็นความท้าทายในการจัดการกับความสลับซับซ้อนซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ...แม้กระนั้น ตลาดโลกก็ยังคงเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่สำหรับ SMEs อยู่ดี ทั้งนี้ SMEs มีข้อจำกัดมากมายในตลาดยุคโลกาภิวัตน์ ตัวอย่างสมัยที่พ่อของผมเริ่มต้นธุรกิจ เมื่อหลายสิบปีก่อนมันยังยุ่งยากน้อยกว่านี้มาก เพราะปัจจุบันเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ถ้า SMEs ไม่สามารถจับกระแสนี้ได้ก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ อีกทั้งการสร้างความตระหนักรู้ในสินค้าเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจ นิทรรศการหรืองานแสดงสินค้าที่จัดขึ้นนั้น จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถคาดการณ์แนวโน้มการตลาดได้ ด้วยการดูว่าคู่แข่งทำอะไร และสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่จะเอื้อประโยชน์กับธุรกิจในอนาคต

ด้าน Mr. Anthony Zola ประธานบริษัท MIDAS Agronomics จำกัด กล่าวย้ำว่าธุรกิจการเกษตรก็เป็นเช่นเดียวกัน การบูรณาการทั้งแนวดิ่งและแนวราบของธุรกิจการเกษตรทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่แห่งได้ครอบครองส่วนแบ่งการตลาดของธุรกิจค้าปลีกด้านอาหาร ส่งผลต่อราคาตลาดที่ยิ่งสร้างความลำบากในการแข่งขันให้กับ SMEs ถ้า SMEs ท้องถิ่นไม่ก้าวตามให้ทัน พวกเขาก็จะหลุดไปจากวงจรการค้าปลีกเลยทีเดียวและเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ทางSMEs ควรมุ่งเป้าหมายไปที่ตลาดแบบเฉพาะเจาะจง (Niche markets) ซึ่งพวกเขามีศักยภาพที่จะสร้างความแตกต่างให้แก่สินค้าได้ ตลาดแบบเฉพาะเจาะจงที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ สินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าธรรมชาติ ซึ่งเติบโตกว่าร้อยละ 15-30 ต่อปี สินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าธรรมชาตินี้เป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก และที่สำคัญ SMEs จะต้องเรียนรู้ว่าคนรุ่นใหม่ชอบหรือไม่ชอบอะไร เพราะคนเหล่านี้จะเป็นผู้กำหนดทิศทางการตลาดในอนาคต

 

                                                                             ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ 13 พฤศจิกายน 2550

ดาวน์โหลด PDF

 

 



ศูนย์ศึกษาธุรกิจครอบครัวและ SMEs ( Family Business & SMEs Study Center ) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ตึก 7 ชั้น 12
เบอร์โทรศัพท์ 0-2-697-6351-2 โทรสาร 0-2697-6350