หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง อีกทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ส่งผลให้การแข่งขันในเวทีโลกทวีความรุนแรงมากขึ้นในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม/การบริการ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ที่สอดคล้องเชื่อมโยงไปยังเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ มองว่าการพัฒนานั้นจะต้องพัฒนามิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กันอย่างสมดุล โดยการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล ระดับชุมชน องค์กร อุตสาหกรรม และระดับประเทศ

สถาบันการศึกษามีภารกิจหลักทางด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการให้กับสังคม โดยมีอาจารย์ นักวิจัยและนักวิชาการเป็นทรัพยากรบุคคลหลักที่สำคัญยิ่ง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านธุรกิจ มีนโยบายส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิจัยและนักวิชาการผลิตผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการจะเป็นเวทีที่คณาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการจะได้เผยแพร่ผลงานวิชาการของตนออกสู่สาธารณชน เป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำงานวิชาการและงานวิจัย อันจะนำมาซึ่งความคิด มุมมองและองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การทำวิจัย และการบริการวิชาการให้กับสังคมได้ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้คณาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการได้พัฒนาขีดความสามารถด้านการวิจัยให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น

ในปีการศึกษาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้จัดการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ (UTCC Academic Day) มาสี่ครั้งแล้ว งานดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยมีคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการและนักศึกษาจากหลายสถาบันการศึกษาเข้าร่วมการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานในหลายสาขาวิชา และเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศทางวิชาการและพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยให้กับคณาจารย์ นักวิจัยและนักวิชาการอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจะจัดการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติในปีการศึกษา 2563 นี้ เป็นครั้งที่ 5 โดยมีการเปลี่ยนชื่องานจาก (UTCC Academic Day เป็น UTCC National Conference และเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยให้กับคณาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ เป็นเวทีนำเสนอและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ
2. เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างคณาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ
3. เพื่อสร้างเครือข่ายและความร่วมมือทางด้านการวิจัยและวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษาและองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. มหาวิทยาลัยสามารถสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับภาคเอกชน สถาบันการศึกษาและภาคสังคม
2. เกิดเวทีการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนานวัตกรรม การเรียนรู้ การจัดการในภาคธุรกิจ การค้าและบริการ การศึกษา และการวิจัย ของบุคลากรมหาวิทยาลัยและนักวิชาการภายนอก ทำให้สามารถนำประสบการณ์และองค์ความรู้ดังกล่าวมาพัฒนา ยกระดับขีดความสามารถของภาคธุรกิจ การค้าและบริการต่างๆ ของประเทศให้มีความพร้อมในการแข่งขัน

รูปแบบการประชุม

การนำเสนอผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการ

ลักษณะของผลงานที่เปิดรับ

1. เป็นผลงานทางวิชาการหรือผลงานวิจัย ที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินการและยังไม่เคยตีพิมพ์หรือนำเสนอในการประชุมวิชาการใดมาก่อน
2.เป็นผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการในกลุ่มสาขา
  • สังคมศาสตร์ (บริหารธุรกิจ บัญชี เศรษฐศาสตร์ การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ) ฯลฯ
  • มนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ นิเทศศาสตร์ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบดิจิทัล

ประเภทของการนำเสนอ

นำเสนอผลงานในรูปแบบ การประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Events เฉพาะแบบบรรยาย (Oral Presentation) ใช้เวลาในการนำเสนอ 15 นาที โดยใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้

กำหนดการส่งบทความ

ช่วงเวลา การดำเนินงาน
ภายใน 30 เม.ย. 64 ลงทะเบียนและเปิดรับบทความ (Full Paper) ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 15 หน้า ผ่านทางหน้าเว็บไซต์
1 มี.ค. 64 – 10 พ.ค. 64 ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
21 พ.ค. 64 วันสุดท้ายของการรับบทความฉบับแก้ไข
28 พ.ค. 64 ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เสนอผลงาน
8 มิ.ย. 64 การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 (The 5th UTCC National Conference)
ตั้งแต่ 28 มิ.ย. 64 ดาวน์โหลดเอกสารรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings)

การลงทะเบียน

ลงทะเบียนในแบบฟอร์มออนไลน์ที่ www.utcc.ac.th/conference_5

สำหรับผู้นำเสนอผลงานให้โอนเงินเข้าบัญชี

ธนาคารกรุงเทพ สาขามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บัญชีเลขที่ 030-0-31683-3
ชื่อบัญชีนางสาวแพรดาว ฟูพาณิชย์พฤกษ์ และนางสาวนิรมล สุดคนึง
สำหรับงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 (The 5th UTCC National Conference)

เมื่อผู้สมัครโอนเงินค่าลงทะเบียนแล้ว ให้ผู้สมัคร upload หลักฐานการชำระเงินได้ที่ระบบลงทะเบียนออนไลน์ และตั้งชื่อไฟล์เป็นชื่อของผู้สมัคร
หมายเหตุ: ทั้งนี้เมื่อโอนเงินแล้วผู้จัดงานจะไม่คืนเงินไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

ค่าลงทะเบียน

1. ชำระเงินภายใน 31 มีนาคม 2564
  • นักศึกษา 1,500 บาท/เรื่อง
  • อาจารย์ ข้าราชการ นักวิจัย บุคคลทั่วไป 2,000 บาท/เรื่อง
2. ชำระเงินระหว่าง 1 -30 เมษายน 2564
  • นักศึกษา 2,000 บาท/เรื่อง
  • อาจารย์ ข้าราชการ นักวิจัย บุคคลทั่วไป 2,500 บาท/เรื่อง

รูปแบบบทความฉบับสมบูรณ์

Download รูปแบบบทความฉบับสมบูรณ์ (Template)

สถานที่จัดโครงการ

การประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Events

ติดต่อสอบถาม

กองส่งเสริมงานวิจัย ส่วนงานวิชาการและงานวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
โทรศัพท์ 0 2697 6381-2, มือถือ 08 0228 8350
โทรสาร 0 2692 3516
E-mail: [email protected]

© UTCC. All Rights Reserved.