ครั้งแรกของนักวิทยุสมัครเล่นไทย
นักวิทยุสมัครเล่นคนแรกของประเทศไทย
: อาจารย์เสงี่ยม เผ่าทองศุข ใช้สัญญาณเรียกขาน HS1PJ ออกอากาศไปทั่วโลก ด้วยความถี่ย่าน 14 MHz.
เมื่อปี พ.ศ.2479 ใช้กำลังส่ง 500 วัตต์ ใช้สัญญาณเรียกขาน HS1RJ เมื่อใช้เครื่องที่มีกำลังส่ง 100 วัตต์
และใช้สัญญาณเรียกขาน HS1BJ เมื่อใช้เครื่องที่มีกำลังส่ง 5 วัตต์
ผู้ทำ DX ย่าน VHF คนแรกของไทย
: ผู้ที่ทำ DX (การติดต่อสื่อสารระยะไกล) อย่างจริงจังคนแรกคือ HS1AFG
คุณภิญโญ ทองเจือ ทำในช่วง ปี พ.ศ.2529 - 2531 สามารถติดต่อจาก อำเภอ สังขละบุรี จังหวัด กาญจนบุรี มาถึง
กรุงเทพฯ ได้สำเร็จเป็นคนแรก และสถิติที่ทำไว้สูงสุดคือ จากคณะ DX ที่ลงไปอำเภอ ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ถึง
ทีมงานที่อยู่ใน จังหวัดกำแพงเพชร ระยะทางทางอากาศ 1,100 กิโลเมตร
กำหนดการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัตรเล่นขั้นต้น ปี 2544 รุ่นที่ 39
วันสอบ |
จังหวัด |
30 กันยายน 2544 |
กรุงเทพมหานคร |
14 ตุลาคม 2544 |
นครปฐม |
25 พฤศจิกายน 2544 |
กรุงเทพมหานคร |
16 ธันวาคม 2544 |
สงขลา |
หลักฐานในการสมัครสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 3 ใบ (สีหรือขาวดำก็ได้)
- สำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
- เงินจำนวน 270 บาท (ค่าใบสมัคร 70 , ค่าสมัครสอบ 200 บาท)
กำหนดการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง ปี 2544
วันสอบ |
จังหวัด |
25 พฤศจิกายน 2544 |
กรุงเทพมหานคร |
หลักฐานในการสมัครสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 3 ใบ (สีหรือขาวดำก็ได้)
- สำเนาประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น 1 ชุด (ไม่อนุญาตให้ใช้บัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น)
- สำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
- เงินจำนวน 270 บาท (ค่าใบสมัคร 70 , ค่าสมัครสอบ 200 บาท)