นำเข้ากากถั่ว-ข้าวโพด-ปลาป่น รัฐให้ "ตัวเลือก" โควตาภาษี FTA
 

รายงาน

คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติตาม ข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายอาหาร กำหนดมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2551 จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ กากถั่วเหลือง, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปลาป่น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

กากถั่วเหลือง เปิดให้นำเข้าได้โดยไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลาการนำเข้า แบ่งเป็น 1) การนำเข้าภายใต้พันธกรณีองค์การการค้าโลก (WTO) ให้สิทธิผู้นำเข้าเดิม 7 สมาคม ได้แก่ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย, สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย, สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการ ส่งออก, สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและ การส่งออก, สมาคมปศุสัตว์ไทย, สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ เสียภาษีนำเข้าในโควตาร้อยละ 4

แต่มีเงื่อนไขให้ผู้มีสิทธินำเข้า (สมาชิกสมาคมทั้ง 4 แห่ง) ต้องรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศของโรงงานสกัดน้ำมันพืชทั้งหมดในราคาไม่ต่ำกว่า ก.ก.ละ 9.85 บาท ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมันพืชตลาดกรุงเทพ หากกระทรวงเกษตรฯปรับราคารับซื้อเมล็ด ถั่วเหลืองเกรดสกัดน้ำมันของปี 2551 เพิ่ม/ลดจากปี 2550 ให้กระทรวงพาณิชย์ปรับราคารับซื้อกากถั่วเหลืองตามไปด้วย ในขณะที่ภาษี นำเข้ากากถั่วเหลืองนอกโควตาให้เรียกเก็บในอัตราร้อยละ 119

2)การนำเข้าภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรี ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ภาษีนำเข้าร้อยละ 5, เขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์/ไทย-ออสเตรเลีย และความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ภาษีนำเข้าร้อยละ 0 และ 3)การนำเข้าทั่วไป ภาษีนำเข้าร้อยละ 6 บวก ค่าธรรมเนียมพิเศษอีกตันละ 2,519 บาท

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แบ่งเป็น 1)การนำเข้า ภายใต้ WTO ภาษีนำเข้าในโควตาร้อยละ 20 ปริมาณโควตา 54,700 ตัน กำหนดให้ องค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นผู้นำเข้ามีระยะเวลาการ นำเข้าระหว่างวันที่ 1 มีนาคม-30 มิถุนายน 2551 ส่วนภาษีนำเข้านอกโควตาเรียกเก็บร้อยละ 73 บวกค่าธรรมเนียมพิเศษอีกตันละ 180 บาท

2)การนำเข้าภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ภาษีนำเข้าร้อยละ 5 หรือ 2.75 บาท/ก.ก., ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่น้ำโขง (ACMECS) ทั้งใน/นอกโครงการ contract farming ภาษีนำเข้าร้อยละ 0 แต่ผู้มีสิทธินำเข้าจะต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการค้าต่างประเทศ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กรมกำหนด, เขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ และความตกลง JTEPA ภาษีนำเข้าร้อยละ 0

เขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ภาษีนำเข้าในโควตาร้อยละ 16 ปริมาณโควตา 6,332.21 ตัน โดยให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นผู้นำเข้าระหว่างวันที่ 1 มีนาคม-30 มิถุนายน 2551 ส่วนภาษีนำเข้านอกโควตาเรียกเก็บร้อยละ 65.70 และ 3)การนำเข้าโดยทั่วไป ภาษีนำเข้า ก.ก.ละ 2.75 บาท บวกค่าธรรมเนียมพิเศษอีก ตันละ 1,000 บาท

ปลาป่น ประกอบไปด้วย ปลาป่นโปรตีน 60% ขึ้นไป ให้นำเข้าโดยไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า แบ่งเป็น 1)การนำเข้าภายใต้ AFTA ภาษีนำเข้าร้อยละ 5, เขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์กับไทย-ออสเตรเลีย ภาษีนำเข้า ร้อยละ 6, เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ภาษีนำเข้าร้อยละ 8 2)การนำเข้าทั่วไป ภาษีนำเข้าร้อยละ 15

ส่วนปลาป่นโปรตีนต่ำกว่าร้อยละ 60 เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้า แบ่งเป็น 1)การ นำเข้าภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี ได้แก่ เขตการค้าเสรี ACFTA ภาษีนำเข้าร้อยละ 5, เขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ภาษีนำเข้า ร้อยละ 3, ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ JTEPA ปลาป่นทุกชนิดโปรตีนภาษีนำเข้าร้อยละ 8.33 ให้นำเข้าในระหว่างเดือมมกราคม-มีนาคม 2551 และภาษี นำเข้าร้อยละ 6.67 ให้นำเข้าในช่วงเดือนเมษายน-ธันวาคม 2551 2)การนำเข้าทั่วไป ภาษีนำเข้าร้อยละ 6

ทั้งนี้ กรมศุลกากรจะออกประกาศลด/ยกเว้นอากรนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ดังกล่าวให้มีผล บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2551

หน้า 9

 

ที่มา :ประชาชาติธุรกิจ   8 ตุลาคม พ.ศ. 2550