ที่มา :กรุงเทพธุรกิจ

13 กันยายน 2550

พาณิชย์นำเอกชนบุกญี่ปุ่นใช้ประโยชน์เจเทปาเชื่อมีผล1พ.ย.
 

"ราเชนทร์"เผย 1 พ.ย.เจเทปามีผลบังคับใช้ มั่นใจส่งออกตลาดญี่ปุ่นฉลุย พร้อมจัด 3 สินค้าลดภาษีทันทีจับมือยักษ์ญี่ปุ่น คาดเพิ่มสัดส่วนส่งออกได้มากขึ้น

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :

นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 พ.ย. นี้ข้อตกลงความร่วมมือ

หุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น(เจเทปา) จะมีผลบังคับใช้ทำให้สินค้าสำคัญ 4 รายการ ได้รับการลดภาษีทันที คือ อาหาร

อัญมณี พลาสติก และสิ่งทอ ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่กรมฯจะเน้นส่งเสริม ให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงให้ได้มากที่สุด

โดยในการเดินทางเพื่อโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 21-30 ก.ย.นี้ จะมีผู้ส่งออกภาคเอกชนไทย ใน 3 กลุ่มสินค้า

คือ อัญมณี สิ่งทอและอาหารรวม 10 ราย ร่วมคณะเพื่อไปพบปะผู้ประกอบการญี่ปุ่นและมั่นใจว่า จะบรรลุการเจรจาและ

สามารถร่วมทุนหรือสั่งซื้อสินค้าได้แน่นอน

”ตอนนี้ได้รับการยืนยันเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์จากฝ่ายไทยและญี่ปุ่นแล้วว่า เจทปาจะมีผลบังคับใช้ได้ภายใน 1 พ.ย.นี้ แน่นอน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของญี่ปุ่น ไม่ส่งผลกระทบต่อข้อตกลงแต่อย่างใด เพราะเจเทปาเป็นข้อตกลง

ระหว่างประเทศ ทำให้ตอนนี้นักธุรกิจไทยและญี่ปุ่นจะตื่นตัวเจรจาธุรกิจกันเพื่อให้ได้ข้อสรุป และสามารถส่งสินค้าได้

ทัน 1 พ.ย.นี้ นายราเชนทร์ กล่าว

นายราเชนทร์ กล่าวอีกว่า การมีข้อตกลงเจเทปาจะทำให้การค้าตลาดญี่ปุ่นมีความสะดวกมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกตลาดนี้ขยายตัว สามารถลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐซึ่งมีความเสี่ยงปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ

สำหรับตลาดญี่ปุ่น ปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วนส่งออก 12.4% ของการส่งออกทั้งหมด มูลค่าการส่งออก 7 เดือนแรกปีนี้

10,335 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 12.9% ซึ่งไทยจะต้องเร่งใช้โอกาสที่เจเทปามีผลบังคับใช้ทำให้ตลาดญี่ปุ่นรู้จักสินค้าและบริการของไทยให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยรู้จักใช้ประโยชน์จากข้อตกลงมากขึ้นด้วยเช่นกัน

นายนพดล สระวาสี รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กรมฯได้ร่วมกับสถาบันวิจัย

นโยบายเศรษฐกิจการคลัง ลงพื้นที่ไปพบปะกับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในอ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราชซึ่งถือเป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งที่สำคัญของประเทศ เพื่อให้ความรู้กับเกษตรกรได้รับรู้ถึงทิศทางการค้ากุ้งระหว่างประเทศ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ)ที่ไทยได้ทำกับประเทศต่างๆ ขณะเดียวกัน ได้รับฟังปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเพื่อที่รัฐจะได้นำไปพิจารณาและกำหนดท่าทีในการเจรจาด้วย

ทั้งนี้ ได้แจ้งกับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไปว่า ขณะนี้ไทยได้ทำเอฟทีเอกับประเทศต่างๆไปแล้ว ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน และญี่ปุ่น ซึ่งผลจากการทำเอฟทีเอ จะทำให้ไทยมีตลาดส่งออกกุ้งเพิ่มมากขึ้น เพราะการพึ่งพาสิทธิพิเศษทางการค้า เช่น สิทธิพิเศษทางกาษีศุลกากร (จีเอสพี) เพียงอย่างเดียวไม่ใช่ทางออกที่ยั่งยืน แต่เอฟทีเอถือเป็นช่องทางในการเพิ่มการส่งออกสินค้ากุ้งไทย ซึ่งจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ภาษีนำเข้ากุ้งที่ประเทศคู่ค้าลดให้กับไทย

นายนพดล กล่าวว่า ยังได้แนะนำเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งอีกว่าในการผลิต ควรจะให้ความสำคัญกับการรักษาคุณภาพและมาตรฐาน เพราะแนวโน้มประเทศต่างๆ จะมีการใช้มาตรการกีดกันเพิ่มมากขึ้น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ทำให้ในการผลิตกุ้งต้องระวังในเรื่องยาปฏิชีวนะตกค้าง สารไนโตรฟูแรนและคลอแรมฟินีคอลตกค้าง โรคตัวแดงและดวงขาว การรักษาสิ่งแวดล้อม ในส่วนการขายให้กับผู้บริโภคชาวมุสลิมจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของกฎระเบียบมาตรฐานสินค้าฮาลาลอย่างเคร่งครัด เป็นต้น