"ยุโรป"ออกโรงกดดัน"หยวน"
ที่มา นสพ :คมชัดลึก
10 ตุลาคม พ.ศ. 2550
สุดทนยูโรแข็ง-เซ็งมะกันนั่งตีขิม
ซีกยุโรปสุดทนเงินยูโรแข็งกว่า 20 %
ออกโรงเองบีบจีนปรับปรุงค่าเงินหยวนเพื่อลดเกินดุลการค้า
เตรียมยกพวกไปปักกิ่ง เซ็งสหรัฐไม่กระตือรือร้น วงในชี้ลึกๆมะกันแฮปปี้
ดอลลาร์อ่อน
รอยเตอร์และเอพีรายงานว่า
ที่ประชุมของรัฐมนตรีคลังของสหภาพยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน)
มีมติร่วมกันว่า ในการประชุมประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ (จี-7)
ในวันที่ 19 ตุลาคมนี้ที่สหรัฐอเมริกา
กลุ่มประเทศยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโรจะนำปัญหาการเกินดุลการค้าของจีนและปัญหาค่าเงินหยวนเข้าหารือเป็นเรื่องหลักในที่ประชุม
จี-7
โดยจะเรียกร้องให้จีนต้องลดการเกินดุลการค้าและต้องปรับเปลี่ยนค่าเงินหยวนที่อ่อนค่ากว่าความเป็นจริง
โดยเห็นว่าค่าเงินหยวนเป็นผู้ร้ายตัวเอกในปัญหาการค้าและอัตราแลกเปลี่ยนของโลก
นายฌอง-คล้อด จังเกอร์ ประธานที่ประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน กล่าวว่า
ปัญหาหลักอันดับแรกก็คือค่าเงินหยวน
อันดับสองคือค่าเงินดอลลาร์และอันดับสามค่าเงินเยน ซึ่งตนและนายฌอง-คล้อด
ทริเช่ต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป
จะเดินทางไปเยือนจีนก่อนปลายปีนี้เพื่อเจรจาปัญหาดังกล่าว
"แม้ว่าการแข็งค่าของยูโรจะช่วยลดค่าใช้จ่ายการซื้อน้ำมัน
และช่วยลดปัญหาเงินเฟ้อ
แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ส่งออกในกลุ่มยูโรโซนแข่งขันในตลาดโลกได้ยากลำบากกว่าเดิม
ในขณะที่ในตลาดโลกนั้นจีนเป็นผู้กำหนดราคาอ้างอิง
ซึ่งเป็นราคาที่ประเทศอื่นๆในเอเชียเอาอย่างตาม"แถลงการณ์ของรัฐมนตรียูโรโซนระบุ
รายงานข่าวระบุว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าแถลงการณ์ร่วมของยุโรปในครั้งนี้
พุ่งเป้าไปที่ค่าเงินหยวนของจีน
แต่กล่าวถึงสหรัฐน้อยมากเกี่ยวกับปัญหาเงินดอลลาร์อ่อนค่าจนทำให้เงินยูโรแข็ง
โดยในแถลงการณ์ได้วิงวอนให้ตลาดเงินฟังคำพูดของสหรัฐที่ย้ำว่าต้องการให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งมากกว่าอ่อน
รายงานข่าวระบุว่า นับจากปี 1999 ที่มีการเริ่มใช้เงินยูโร
ในกลุ่มประเทศยุโรป 13 ประเทศ ค่าเงินยูโรแข็งขึ้นกว่า 20 %
เมื่อเทียบกับดอลลาร์และเยน และเฉพาะในช่วง 1ปีมานี้ ยูโรแข็งขึ้นถึง
10 %
ที่ผ่านมายุโรปปล่อยให้สหรัฐอเมริกาเป็นผู้แสดงบทบาทหลักในการกดดันจีน
แต่ก็ได้ผลน้อยมาก
ดังนั้นในครั้งนี้ถือว่ายุโรปออกมาแสดงบทบาทหลักด้วยการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมจี-7
เพื่อกดดันจีน
เพราะเห็นแล้วว่าทั้งสหรัฐและญี่ปุ่นไม่ได้แสดงความกระตือรือร้นที่จะช่วยแก้ปัญหา
รายงานข่าวระบุว่า เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม นายโรดริโก ราโต
กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)ที่กำลังจะก้าวลงจากตำแหน่ง
ได้ออกมาระบุว่า เงินดอลลาร์อ่อนค่ากว่าความเป็นจริง
อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรปยอมรับอย่างเป็นส่วนตัวว่า
สหรัฐไม่เต็มใจเหมือนในอดีตที่จะช่วยดูแลเงินยูโร
เพราะสหรัฐอาจมีความสุขที่ดอลลาร์อ่อนค่าเพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกท่ามกลางสภาวะที่เศรษฐกิจสหรัฐมีปัญหา
วันเดียวกันเอเอฟพีรายงานว่า
ไอเอ็มเอฟได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีหน้าลงจาก 5.2 % เหลือ 4.8 %
นอกจากนี้ยังลดประมาณการเศรษฐกิจของเยอรมนีจาก 2.4 % เหลือ 2 %
ฝรั่งเศสจาก 2.3 % เหลือ 2