แนวโน้มในอนาคต

 

      ด้านการผลิต

  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พยากรณ์ผลการผลิตยางพาราในปี 2549/50 ว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย แม้ว่าสถานการณ์ราคายางพาราจะมีแนวโน้มสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา และภาครัฐมีโครงการสนับสนุนปลูกยางพารา อันเป็นผลให้เกษตรกรหันมาปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้นก็ตาม แต่เนื่องจากมีปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรากฏการณ์เอล นิโญ (El Nino) ที่คาดว่าจะส่งผลให้หน้าแล้งมีระยะเวลานานขึ้น เป็นต้น เป็นผลให้เกษตรกรกรีดยางได้น้อยลง ผลผลิตต่อไร่ลดลง  ผลผลิตโดยรวมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

รายการ

 2548/49  

 2549/50  

ปริมาณ

ร้อยละ 

เพิ่ม-ลด

เพิ่ม-ลด

  เนื้อที่เพาะปลูก (ล้านไร่)

     10.57

      10.82

    0.25

 2.37

  ผลผลิต (ล้านตัน)

      2.97

       2.99

    0.01

 0.48

  ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม)

 281.00

  276.00

 -5.00

-1.78 

 

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร <www.oae.go.th>

      ด้านราคา

  • ราคายางในปีที่ผ่านมาปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมาก และคาดว่าจะยังคงทรงตัวยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากความต้องการใช้ของจีน และอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดนำเข้าสำคัญยังคงมีอยู่ เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์ของทั้งสองประเทศมีแนวโน้มขยายตัว คาดว่าความต้องการใช้ยางพาราของจีนและอินเดียในปี 2550 จะขยายตัวร้อยละ 8 และ 5 เป็นความต้องการใช้ยาง 2.2 ล้านตัน และ 0.9 ล้านตันตามลำดับ

      ด้านการค้า

  • ตลาดโลกยังคงมีความต้องการยางพาราสูง โดยเฉพาะจีนและอินเดียเนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเติบโต  ความต้องการน้ำยางข้นของไทยก็มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาเลเซียที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตถุงมือยางส่งออก ซึ่งทั่วโลกมีความต้องการใช้ยางธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น ทำให้การส่งออกมีแนวโน้มที่ดี   นอกจากนี้ปริมาณผลผลิตยางของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกยางที่สำคัญอันดับสองของโลก มีแนวโน้มลดลง อันเนื่องมาจากสภาพอากาศ จึงเป็นโอกาสของไทยในการขยายการส่งออกได้

  • อย่างไรก็ตาม ไทยจะต้องเผชิญกับคู่แข่งรายใหม่ที่สำคัญ คือ เวียดนาม ซึ่งมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกและพัฒนาเทคโนโลยี จนมีอัตราการเพิ่มของปริมาณผลผลิตสูงกว่าไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ทำให้สามารถรองรับการส่งออกได้มากขึ้น

  • การเพิ่มขึ้นของราคา ซึ่งเป็นผลให้ต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมที่ใช้ยางเป็นวัตถุดิบ เช่น ถุงมือยาง รถยนต์ ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากนั้น ทำให้ประเทศผู้นำเข้าบางประเทศจำต้องปรับตัว ลดการนำเข้ายางธรรมชาติลง โดยจีนเริ่มหันมานำเข้าผลิตภัณฑ์ยางที่ผสมสารเคมีมากขึ้น (Compound Rubber) เพื่อลดความเสี่ยงของการผันผวนของราคา ทั้งนี้อัตราภาษีนำเข้าของจีนที่เรียกเก็บจากยางที่ผสมสารเคมีมีอัตราเพียงร้อยละ 5 ซึ่งต่ำกว่ายางธรรมชาติที่เรียกเก็บในอัตราร้อยละ 7.5 อีกด้วย ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ ซึ่งไม่สามารถแข่งขันกับรถยนต์นำเข้าที่มีราคาต่ำกว่าได้ เริ่มย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า ทำให้ความต้องการนำเข้ายางพาราเพื่อผลิตรถยนต์ลดลง

     

    ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร <www.oae.go.th>

    ฝ่ายวิชาการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย <www.exim.go.th>